วันพฤหัสบดีที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2553

ลิ้นจี่

ลิ้นจี่
ลิ้นจี่(Litchi chinensis Sonn) เป็นผลไม้เศรษฐกิจสำคัญชนิดหนึ่ง ที่ทำรายได้ให้แก่จังหวัดสมุทรสงคราม
แหล่งปลูกดั้งเดิมนั้นอยู่ทางตอนใต้ของประเทศจีน ซึ่งพ่อค้าชาวจีนได้นำลิ้นจี่มาขายทางเรือพร้อมสินค้าอื่น ๆ
ตามลำคลองต่าง ๆ ของแม่น้ำแม่กลองและคลองแควอ้อม เมื่อเกษตรกรได้บริโภคผลลิ้นจี่แล้วจึงนำเมล็ดไปปลูก
เมื่อต้นลิ้นจี่ให้ผลผลิตจึงทราบว่ามีรสชาติที่อร่อยจึงนำมาขยายพันธุ์ต่อไป ซึ่งมีอยู่หลายพันธุ์ด้วยกัน
แต่ที่นิยมที่สุดคือพันธุ์ค่อม เพราะมีรสชาติที่หวานหอมอร่อย ราคาดี ปัจจุบันมีพื้นที่ปลูกทั่วจังหวัด ประมาณ
6,637 ไร่ ส่วนใหญ่อยู่ในเขตอำเภอบางคนที และอำเภออัมพวา ลิ้นจี่จังหวัดสมุทรสงครามได้ชื่อว่าเป็นลิ้นจี่
ที่มีรสชาติดีที่สุดก็ว่าได้ ราคาจึงค่อนข้างแพง การปลูกและการดูแลรักษาก็ง่าย โรคแมลงก็รบกวนน้อย
จึงเป็นที่รู้จักแพร่หลายเกือบทุกจังหวัดของประเทศไทย ว่าลิ้นจี่แม่กลองเป็นสุดยอดของลิ้นจี่เมืองไทย


สภาพแวดล้อมที่เหมาะสม

ดิน ที่เหมาะสมแก่การเจริญเติบโตและให้ผลผลิตดี คือ ดินร่วนเหนียว หน้าดินลึก มีอินทรีย์วัตถุมาก ระบายน้ำ
ได้ดี มีค่าความเป็นกรดเป็นด่างของดินประมาณ 6 - 7
อากาศ อากาศที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตและออกดอกต่อผลของลิ้นจี่ ต่ำกว่า 20 องศาเซลเซียส
ไม่น้อยกว่า 120 ชม. เมื่อออกดอกแล้วอุณหภูมิจะสูงขึ้นก็ไม่เป็นไร แต่ถ้าสูงเกิน36.5 องศาเซลเซียส ขึ้นไป
จะทำให้มีผลกระทบต่อดอกของลิ้นจี่ คือ ดอกจะไม่สมบูรณ์ แห้ง หรือร่วงมาก
ความชื้นในอากาศ ความชื้นสัมพันธ์ที่เหมาะสมที่สุดสำหรับลิ้นจี่ในระยะก่อนออกดอกและระยะกำลัง
จะติดผลควรต่ำกว่า 80 เปอร์เซ็นต์ ถ้าสูงกว่านี้ดอกจะร่วง

การคัดเลือกพันธุ์มาปลูก
ลิ้นจี่ในเมืองแม่กลองหรือจังหวัดสมุทรสงคราม มีมากมายหลายพันธุ์ เช่น พันธุ์ค่อม , กะโหลกใบยาว,
กะโหลกใบไหม้, กะโหลกในเตา, พันธุ์แห้ว, พันธุ์จีน, พันธุ์ไทยธรรมดา , พันธุ์ไทยใหญ่, พันธุ์สาแหรกทอง, พันธุ์สำเภาแก้ว, พันธุ์ช่อระกำ, พันธุ์เขียวหวาน พันธุ์ที่นิยมมากที่สุดในจังหวัดสมุทรสงคราม คือ พันธุ์ค่อม

พันธุ์ค่อม

ลักษณะประจำพันธุ์

- ลำต้นและกิ่งเรียบ ลำต้นสีน้ำตาลอ่อน กิ่งแข็งแรง ทรงพุ่มค่อนข้างกลมไม่สูง ใบแคบเรียวเป็นลอน
กลางใบพอง ปลายใบเรียวแหลม ใบมี 2-4 คู่ สี่ใบด้านบนเขียวเป็นมัน ขอบใบเป็นคลื่นเล็กน้อย ผลมีขนาดใหญ่
กลมสีแดงเข้ม เปลือกกรอบบาง หนามห่างสั้นแหลม เนื้อหนา หวาน มีกลิ่นหอมพิเศษ เนื้อแห้ง สีขาวขุ่น

การขยายพันธุ์
การขยายพันธุ์ลิ้นจี่ ทำได้หลายวิธี ได้แก่ การตอน การทาบกิ่ง การเสียบยอด แต่วิธีที่นิยมขยายพันธุ์ลิ้นจี่ คือ

การตอนระยะการปลูก
พื้นที่ในจังหวัดสมุทรสงครามส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ยกร่อง ระยะการปลูกลิ้นจี่ 8 x 8 เมตร
การเตรียมหลุมปลูก
หลุมปลูกลิ้นจี่ควรขุดหลุมในแนวตรงบนแปลงขนาดกว้าง ยาว ลึก ประมาณ 50 - 80 เซนติเมตร ผสมดิน
ปลูกด้วยปุ๋ยอินทรีย์ อัตราส่วน 3 : 1 โดยปริมาณ คลุกให้เข้ากันแล้วกลบลงหลุม โดยให้ดินบริเวณปากหลุม
สูงกว่าดินเดิม ประมาณ 15 เซนติเมตร เพื่อป้องกันการยุบตัวของดิน หาไม้ปักกลางหลุม เพื่อเป็นหลักแก่ต้นลิ้นจี่
การปลูกให้คุ้ยดินตรงโคนหลักไปเล็กน้อย แล้วนำกล้าลิ้นจี่ลงปลูก ตั้งยอดให้ตรงแนบกับหลักให้ระดับดินอยู่
เหนือตุ้มกาบมะพร้าวกิ่งตอนเล็กน้อยแล้ว กดบริเวณโคนด้วยมือให้แน่นแล้ว ผูกเชือกรัดลำต้นให้แนบกับหลัก
เพื่อกันลมโยกเพื่อกันไม่ให้รากลิ้นจี่ขาด จากนั้นควรทำซุ้มบังแดด โดยใช้ทางมะพร้าว หรือสะแลนพรางแสงแดด

การปฏิบัติดูแลรักษา

ลิ้นจี่ที่ปลูกใหม่ ควรให้น้ำสม่ำเสมอ เพื่อให้กิ่งที่ปลูกแตกใบอ่อน 3-4 ครั้ง/ปี



การให้ปุ๋ย
การให้ปุ๋ยลิ้นจี่ที่ยังไม่ให้ผลผลิต (อายุ 1 - 4 ปี)

การใส่ปุ๋ยสูตรเสมอ เช่น 25-7-7 ต้นละ ประมาณ ครึ่งกิโลกรัม/ต้น/ปี แบ่งใส่ 2 ครั้ง ต้นฝนและปลายฝน


การให้ปุ๋ยลิ้นจี่ที่ให้ผลผลิตแล้ว

1. หลังการเก็บเกี่ยวผลแล้วต้องตัดแต่งกิ่งและให้ปุ๋ยบำรุงต้นให้เจริญเติบโตสมบูรณ์ โดยใส่ปุ๋ยอินทรีย์ อัตรา 20-50

กิโลกรัมต่อต้น พร้อมปุ๋ยเคมี สูตรเสมอ เช่น 25-7-7 อัตรา 2 - 5 กิโลกรัม/ต้น เมื่อแตกใบอ่อน ใบเพสลาดใส่ปุ๋ย สูตร
15-15-15 หรือ 16-16-16 อัตรา 2-5 กก./ต้น
2. ให้ปุ๋ยเคมีเพื่อเตรียมต้นลิ้นจี่ให้พร้อมที่จะออกดอกในฤดูกาล คือ แตกใบอ่อน ครั้งที่ 2 ช่วงใบเพสลาด
ควรใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 8 - 24 - 24 , 12 - 24 - 12 อัตรา 2 - 5 กิโลกรัม/ต้น ประมาณ เดือน กันยายน-ตุลาคม
3. การให้ปุ๋ยในระยะติดผล ใช้ปุ๋ยสูตร 13 - 13 - 21 อัตรา 1 - 3 กิโลกรัมต่อต้น เพื่อให้ผลผลิตมีคุณภาพดี

4. การให้ปุ๋ยทางใบ เป็นการเสริมให้ต้นลิ้นจี่ได้รับปุ๋ยโดยตรงและต้นลิ้นจี่สามารถนำไปใช้ได้ทันที
ซึ่งการใช้ในกรณีต่อไปนี้

- เมื่อต้นลิ้นจี่แตกใบอ่อนช้า หรือไม่สม่ำเสมอ ควรใช้ปุ๋ยไทโอยูเรีย สูตร 13-0-46 อัตรา 100-150 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร
พ่นให้ทั่วทรงพุ่ม 1-2 ครั้ง ห่างกัน 7-10 วัน จะช่วยให้การแตกใบอ่อนเร็วขึ้นและพร้อมกัน
- ถ้าใบมีความสมบูรณ์ต่ำ คือ ใบไม่มีสีเขียวเข้มเป็นมัน ควรพ่นปุ๋ยทางใบสูตร 30-20-10 หรือ 20-20-20 อัตรา 20-30 ซีซี.
ต่อน้ำ 20 ลิตร จะช่วยเพิ่มความสมบูรณ์แก่ใบให้มากขึ้น
- ระยะใบแก่ก่อนออกดอกเพื่อช่วยให้ใบแก่เร็วขึ้น และช่วยป้องกันการแตกใบอ่อนเมื่อมีฝนตก ควรพ่นปุ๋ยทาง
ใบสูตร 0-52-34 อัตรา 100-150 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร 2 ครั้ง ห่างกัน 7-10 วัน
- ช่วงลิ้นจี่ใกล้ออกดอก ควรพ่นปุ๋ยทางใบเพื่อเพิ่มความสมบูรณ์และกระตุ้นตาดอก เช่น ปุ๋ยสูตร 10-52-17 หรือ
10-45-10 อัตรา 20-30 ซีซี. ต่อน้ำ 20 ลิตร และหลังจากแทงช่อดอกแล้วควรฉีดพ่นอีกครั้งเพื่อบำรุงช่อดอก
และช่วยให้ผลดีขึ้น
- ช่วงลิ้นจี่ติดผลขนาดโตปานกลาง อาจให้ปุ๋ยทางใบเพื่อช่วยเร่งการเจริญและเพิ่มคุณภาพของผล โดยใช้ปุ๋ยสูตร
10-20-30 อัตรา 20-30 ซีซี ต่อน้ำ 30 ลิตร

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น