ลำไย
สภาพพื้นที่ พื้นที่ปลูกลำไยเป็นที่เนินระหว่างภูเขา มีความลาดเอียงเพียงเล็กน้อย ดินเป็นดิน
ร่วนเหนียว มีความอุดมสมบูรณ์ดี
พันธุ์ ใช้พันธุ์อีดอ เป็นพันธุ์ที่เกษตรกรในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนนิยมปลูก
มากที่สุด เนื่องจากออกดอกและเก็บผลก่อนพันธุ์อื่น เป็นพันธุ์ที่เจริญเติบโตดี โดยเฉพาะในดินอุดม
สมบูรณ์
ระยะปลูก 8x8 เมตร
3
การให้ปุ๋ย หลังจากเก็บเกี่ยวผลผลิตในเดือนสิงหาคม ทำการใส่ปุ๋ยสูตร 15-15-15 อัตรา 1.5
กิโลกรัมต่อต้น และใส่ปุ๋ยคอก อัตรา 10 กิโลกรัมต่อต้น หลังจากนั้น 10-15 วัน จะเริ่มแตกยอด ทำการ
พ่นปุ๋ยทางใบสูตร 0-52-34 อัตรา 150 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร เพื่อบำรุงยอด หลังจากราดสาร 3 วัน ใส่ปุ๋ย
สูตร 8-24-24 อัตรา 1.5 กิโลกรัมต่อต้น ใช้แกลบและฟางกลบบริเวณโคนต้น พ่นปุ๋ยทางใบสูตร 0-52-34
อัตรา 150 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร กระตุ้นให้ใบแก่จะทำให้แทงช่อดอกได้เร็วขึ้น ในช่วงดอกตูม พ่นสาร
แคลเซียม โบรอน อัตรา 300 มิลลิลิตรต่อน้ำ 200 ลิตร เพื่อช่วยให้ดอกสมบูรณ์มีขนาดใหญ่ ช่วยพัฒนา
ดอกให้ติดผลเร็วขึ้น และลดการหลุดร่วงของผลอ่อน ในช่วงติดผลเล็กประมาณเดือนพฤษภาคม ใส่ปุ๋ย
สูตร 15-15-15 อัตรา 2 กิโลกรัมต่อต้น และปุ๋ยคอก อัตรา 10 กิโลกรัมต่อต้น เพื่อบำรุงผลให้เจริญเติบโต
ประมาณกลางเดือนมิถุนายน ใส่ปุ๋ยสูตร 13-13-21 อัตรา 2 กิโลกรัมต่อต้น เพื่อเพิ่มคุณภาพของผลผลิต
การให้น้ำ การปลูกลำไยของเกษตรกรอาศัยน้ำฝนเป็นหลัก แต่ในช่วงฤดูแล้งก็มีแหล่งน้ำเสริม
คือน้ำจากสระ โดยเกษตรกรจะใช้เครื่องสูบน้ำและรดลำไยด้วยสายยาง การให้น้ำมีความจำเป็นอย่าง
มากซึ่งต้องมีการให้น้ำอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะในช่วงที่มีการราดสารโพแทสเซียมคลอเรต ต้องให้น้ำ
อย่างระมัดระวังและต่อเนื่อง หลังจากติดผลก็ให้น้ำอย่างสม่ำเสมอ โดยเกษตรกรจะสังเกตความชื้นใน
ดินก่อนที่จะให้น้ำ
การราดสารโพแทสเซียมคลอเรต (KClO3) การผลิตลำไยในฤดูกาลปกติเกษตรกรจะ
ประสบปัญหาลำไยออกดอกไม่สม่ำเสมอซึ่งจะออกดอกประมาณ 40-60 เปอร์เซ็นต์ ของจำนวนกิ่ง
เกษตรกรจึงใช้สารโพแทสเซียมคลอเรต เพื่อให้ลำไยออกดอกมากและสม่ำเสมอ ถ้าหากไม่ราดสารลำไย
จะออกดอกน้อยและออกเฉพาะบางกิ่งเท่านั้นทำให้ได้ผลผลิตต่ำ และนอกจากนี้ยังมีจุดประสงค์เพื่อให้
ลำไยออกดอกได้เร็วขึ้น ซึ่งจะเก็บผลผลิตได้เร็วขึ้นทำให้ขายได้ราคาดี โดยปกติแล้วลำไยโดยทั่วไปจะ
ออกดอกไม่เกินวันที่ 15 มกราคม แต่ถ้าราดสารโพแทสเซียมคลอเรต จะทำให้ออกดอกเร็วขึ้น คือจะ
ออกดอกในวันที่ 1 มกราคม (ลำไยจะแทงช่อดอกหลังจากราดสาร 1 เดือน
การเตรียมต้น หลังจากมีการให้ปุ๋ยบำรุงหลังจากเก็บเกี่ยวในเดือนสิงหาคมลำไยจะ
แทงยอด ในเดือนตุลาคมใบลำไยจะอยู่ในระยะใบเพสลาด ทำการริดใบออกให้เหลือกิ่งละ 4 ใบ
4
หลังจากนั้นประมาณ 1 สัปดาห์ ลำไยจะแทงยอดออกมาอีก ทำการพ่นสารป้องกันกำจัดแมลงอีกครั้ง เมื่อ
ถึงระยะใบเพสลาด ประมาณต้นเดือนพฤศจิกายนทำการราดสารโพแทสเซียมคลอเรต ก่อนราดสารต้อง
ทำความสะอาดบริเวณโคนต้นรอบทรงพุ่ม กำจัดวัชพืชและกวาดเอาวัสดุคลุมดินออก จากนั้นรดน้ำให้
ชุ่มต้นละประมาณ 200 ลิตร
วิธีการราดสารโพแทสเซียมคลอเรต หลังจากให้น้ำ 2 วัน ทำการราดสารโดย
ละลายน้ำราดให้ทั่วบริเวณทรงพุ่ม ต้นลำไยอายุ 4-5 ปี ใช้อัตรา 0.3 กิโลกรัมต่อต้น ลำไยอายุ 8 ปี ใช้
อัตรา 0.5 กิโลกรัมต่อต้น หลังจากราดสารต้องให้น้ำวันละ 1 ครั้ง 3 วันติดต่อกัน หลังจากนั้นควรให้น้ำ
อย่างสม่ำเสมอจนกระทั่งลำไยออกดอก เมื่อถึงต้นเดือนมกราคมลำไยจะแทงช่อดอก ครั้งแรกควรให้น้ำ
ทีละน้อย ๆ พอชุ่ม หลังจากนั้นให้น้ำเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ โดยให้น้ำทุก ๆ 3-4 วัน จนติดผล
การค้ำกิ่ง หลังระยะติดผล ผลลำไยจะเจริญเติบโตขึ้นเรื่อยๆ เกษตรกรมีการใช้ไม้ไผ่ หรือกิ่ง
ไม้ ค้ำตามกิ่งของลำไย เพื่อช่วยพยุงกิ่งไม่ให้ฉีกหัก
การป้องกันกำจัดศัตรูลำไย ในช่วงหลังจากใส่ปุ๋ยครั้งแรกลำไยจะแตกยอดอ่อน ศัตรูที่
สำคัญคือหนอนกินใบ แมลงกินนูน และด้วงงวงช้าง ทำการพ่นสารป้องกันกำจัดแมลง โดยพ่นสารไซ
เพอร์เมทริน 2 ครั้ง หลังจากติดผลจะพ่นสารเคมีป้องกันกำจัดโรคและแมลงเดือนละ 1 ครั้ง โดยพ่นสาร
ไซเพอร์เมทริน แมนโคเซบ หรือแคบแทน โดยจะหยุดพ่นสารเคมีก่อนเก็บเกี่ยวผลผลิตอย่างน้อย 1
เดือน ซึ่งเกษตรกรมีความมั่นใจในความปลอดภัยของผลผลิต
การกำจัดวัชพืช ใช้วิธีการตัด
การเก็บเกี่ยว ลำไยจะเริ่มเก็บเกี่ยวได้ในช่วงปลายเดือนกรกฎาคม การเก็บเกี่ยวใช้กรรไกร
ตัดช่อผลลำไย นำช่อผลใส่ตะกร้าขนย้ายไปยังสถานที่คัดเกรด
วิทยาการหลังการเก็บเกี่ยว สถานที่คัดเกรดเป็นอาคารเล็ก ๆ อยู่บริเวณข้างแปลงลำไย
เกษตรกรจะนำลำไยที่ตัดจากต้นมาวางบนเสื่อ ทำการตัดผลลำไยที่มีขนาดเล็กไม่ได้มาตรฐานในแต่ละ
ช่อออกจากช่อผล และตัดกิ่งแห้งในช่อผลออกเพื่อความสวยงาม มัดช่อผลลำไยมัดละประมาณ 1
กิโลกรัม บรรจุใส่ถุงพลาสติกที่เจาะรูระบายอากาศรอบถุง โดยบรรจุถุงละ 10 กิโลกรัม ในการจำหน่าย
จะมีพ่อค้ามารับซื้อที่แปลง หรือบางครั้งจะนำไปจำหน่ายเอง
สภาพพื้นที่ พื้นที่ปลูกลำไยเป็นที่เนินระหว่างภูเขา มีความลาดเอียงเพียงเล็กน้อย ดินเป็นดิน
ร่วนเหนียว มีความอุดมสมบูรณ์ดี
พันธุ์ ใช้พันธุ์อีดอ เป็นพันธุ์ที่เกษตรกรในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนนิยมปลูก
มากที่สุด เนื่องจากออกดอกและเก็บผลก่อนพันธุ์อื่น เป็นพันธุ์ที่เจริญเติบโตดี โดยเฉพาะในดินอุดม
สมบูรณ์
ระยะปลูก 8x8 เมตร
3
การให้ปุ๋ย หลังจากเก็บเกี่ยวผลผลิตในเดือนสิงหาคม ทำการใส่ปุ๋ยสูตร 15-15-15 อัตรา 1.5
กิโลกรัมต่อต้น และใส่ปุ๋ยคอก อัตรา 10 กิโลกรัมต่อต้น หลังจากนั้น 10-15 วัน จะเริ่มแตกยอด ทำการ
พ่นปุ๋ยทางใบสูตร 0-52-34 อัตรา 150 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร เพื่อบำรุงยอด หลังจากราดสาร 3 วัน ใส่ปุ๋ย
สูตร 8-24-24 อัตรา 1.5 กิโลกรัมต่อต้น ใช้แกลบและฟางกลบบริเวณโคนต้น พ่นปุ๋ยทางใบสูตร 0-52-34
อัตรา 150 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร กระตุ้นให้ใบแก่จะทำให้แทงช่อดอกได้เร็วขึ้น ในช่วงดอกตูม พ่นสาร
แคลเซียม โบรอน อัตรา 300 มิลลิลิตรต่อน้ำ 200 ลิตร เพื่อช่วยให้ดอกสมบูรณ์มีขนาดใหญ่ ช่วยพัฒนา
ดอกให้ติดผลเร็วขึ้น และลดการหลุดร่วงของผลอ่อน ในช่วงติดผลเล็กประมาณเดือนพฤษภาคม ใส่ปุ๋ย
สูตร 15-15-15 อัตรา 2 กิโลกรัมต่อต้น และปุ๋ยคอก อัตรา 10 กิโลกรัมต่อต้น เพื่อบำรุงผลให้เจริญเติบโต
ประมาณกลางเดือนมิถุนายน ใส่ปุ๋ยสูตร 13-13-21 อัตรา 2 กิโลกรัมต่อต้น เพื่อเพิ่มคุณภาพของผลผลิต
การให้น้ำ การปลูกลำไยของเกษตรกรอาศัยน้ำฝนเป็นหลัก แต่ในช่วงฤดูแล้งก็มีแหล่งน้ำเสริม
คือน้ำจากสระ โดยเกษตรกรจะใช้เครื่องสูบน้ำและรดลำไยด้วยสายยาง การให้น้ำมีความจำเป็นอย่าง
มากซึ่งต้องมีการให้น้ำอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะในช่วงที่มีการราดสารโพแทสเซียมคลอเรต ต้องให้น้ำ
อย่างระมัดระวังและต่อเนื่อง หลังจากติดผลก็ให้น้ำอย่างสม่ำเสมอ โดยเกษตรกรจะสังเกตความชื้นใน
ดินก่อนที่จะให้น้ำ
การราดสารโพแทสเซียมคลอเรต (KClO3) การผลิตลำไยในฤดูกาลปกติเกษตรกรจะ
ประสบปัญหาลำไยออกดอกไม่สม่ำเสมอซึ่งจะออกดอกประมาณ 40-60 เปอร์เซ็นต์ ของจำนวนกิ่ง
เกษตรกรจึงใช้สารโพแทสเซียมคลอเรต เพื่อให้ลำไยออกดอกมากและสม่ำเสมอ ถ้าหากไม่ราดสารลำไย
จะออกดอกน้อยและออกเฉพาะบางกิ่งเท่านั้นทำให้ได้ผลผลิตต่ำ และนอกจากนี้ยังมีจุดประสงค์เพื่อให้
ลำไยออกดอกได้เร็วขึ้น ซึ่งจะเก็บผลผลิตได้เร็วขึ้นทำให้ขายได้ราคาดี โดยปกติแล้วลำไยโดยทั่วไปจะ
ออกดอกไม่เกินวันที่ 15 มกราคม แต่ถ้าราดสารโพแทสเซียมคลอเรต จะทำให้ออกดอกเร็วขึ้น คือจะ
ออกดอกในวันที่ 1 มกราคม (ลำไยจะแทงช่อดอกหลังจากราดสาร 1 เดือน
การเตรียมต้น หลังจากมีการให้ปุ๋ยบำรุงหลังจากเก็บเกี่ยวในเดือนสิงหาคมลำไยจะ
แทงยอด ในเดือนตุลาคมใบลำไยจะอยู่ในระยะใบเพสลาด ทำการริดใบออกให้เหลือกิ่งละ 4 ใบ
4
หลังจากนั้นประมาณ 1 สัปดาห์ ลำไยจะแทงยอดออกมาอีก ทำการพ่นสารป้องกันกำจัดแมลงอีกครั้ง เมื่อ
ถึงระยะใบเพสลาด ประมาณต้นเดือนพฤศจิกายนทำการราดสารโพแทสเซียมคลอเรต ก่อนราดสารต้อง
ทำความสะอาดบริเวณโคนต้นรอบทรงพุ่ม กำจัดวัชพืชและกวาดเอาวัสดุคลุมดินออก จากนั้นรดน้ำให้
ชุ่มต้นละประมาณ 200 ลิตร
วิธีการราดสารโพแทสเซียมคลอเรต หลังจากให้น้ำ 2 วัน ทำการราดสารโดย
ละลายน้ำราดให้ทั่วบริเวณทรงพุ่ม ต้นลำไยอายุ 4-5 ปี ใช้อัตรา 0.3 กิโลกรัมต่อต้น ลำไยอายุ 8 ปี ใช้
อัตรา 0.5 กิโลกรัมต่อต้น หลังจากราดสารต้องให้น้ำวันละ 1 ครั้ง 3 วันติดต่อกัน หลังจากนั้นควรให้น้ำ
อย่างสม่ำเสมอจนกระทั่งลำไยออกดอก เมื่อถึงต้นเดือนมกราคมลำไยจะแทงช่อดอก ครั้งแรกควรให้น้ำ
ทีละน้อย ๆ พอชุ่ม หลังจากนั้นให้น้ำเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ โดยให้น้ำทุก ๆ 3-4 วัน จนติดผล
การค้ำกิ่ง หลังระยะติดผล ผลลำไยจะเจริญเติบโตขึ้นเรื่อยๆ เกษตรกรมีการใช้ไม้ไผ่ หรือกิ่ง
ไม้ ค้ำตามกิ่งของลำไย เพื่อช่วยพยุงกิ่งไม่ให้ฉีกหัก
การป้องกันกำจัดศัตรูลำไย ในช่วงหลังจากใส่ปุ๋ยครั้งแรกลำไยจะแตกยอดอ่อน ศัตรูที่
สำคัญคือหนอนกินใบ แมลงกินนูน และด้วงงวงช้าง ทำการพ่นสารป้องกันกำจัดแมลง โดยพ่นสารไซ
เพอร์เมทริน 2 ครั้ง หลังจากติดผลจะพ่นสารเคมีป้องกันกำจัดโรคและแมลงเดือนละ 1 ครั้ง โดยพ่นสาร
ไซเพอร์เมทริน แมนโคเซบ หรือแคบแทน โดยจะหยุดพ่นสารเคมีก่อนเก็บเกี่ยวผลผลิตอย่างน้อย 1
เดือน ซึ่งเกษตรกรมีความมั่นใจในความปลอดภัยของผลผลิต
การกำจัดวัชพืช ใช้วิธีการตัด
การเก็บเกี่ยว ลำไยจะเริ่มเก็บเกี่ยวได้ในช่วงปลายเดือนกรกฎาคม การเก็บเกี่ยวใช้กรรไกร
ตัดช่อผลลำไย นำช่อผลใส่ตะกร้าขนย้ายไปยังสถานที่คัดเกรด
วิทยาการหลังการเก็บเกี่ยว สถานที่คัดเกรดเป็นอาคารเล็ก ๆ อยู่บริเวณข้างแปลงลำไย
เกษตรกรจะนำลำไยที่ตัดจากต้นมาวางบนเสื่อ ทำการตัดผลลำไยที่มีขนาดเล็กไม่ได้มาตรฐานในแต่ละ
ช่อออกจากช่อผล และตัดกิ่งแห้งในช่อผลออกเพื่อความสวยงาม มัดช่อผลลำไยมัดละประมาณ 1
กิโลกรัม บรรจุใส่ถุงพลาสติกที่เจาะรูระบายอากาศรอบถุง โดยบรรจุถุงละ 10 กิโลกรัม ในการจำหน่าย
จะมีพ่อค้ามารับซื้อที่แปลง หรือบางครั้งจะนำไปจำหน่ายเอง
ราดสารครั้งหน้า ด้วย(Potassium Chlorate) ด้วย สูตรเข้ม เพิ่มความมั่นใจ
ตอบลบมาที่นี่ครับ..[url] http://potassiumchlorate.blogspot.com/ [url]