วันพฤหัสบดีที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2553

การปลูกบร็อคโคลี่




บร๊อคโคลี(Broccoli)บร๊อคโคลี(Broccoli) หรือ กะหล่ำดอกอิตาเลี่ยน มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Brassica olercea L.var.italica Pleneck อยู่ในตระกูล Cruciferae เป็นพืชผักเมืองหนาวที่มีถิ่นกำเนิดอยู่ทางตอนใต้ของยุโรปหรือแถวๆ ประเทศอิตาลี มีการนำเข้ามาปลูกในประเทศไทยเมื่อประมาณ 10 กว่าปีที่ผ่านมา โดยในระยะแรกเริ่มมีการปลูกในเขตภาคเหนือ เนื่องจากเป็นพืชที่ต้องการสภาพอากาศหนาวเย็นในการออกดอก แต่ในปัจจุบันได้มีการปรับปรุงพันธุ์ให้สามารถทนต่อสภาพอากาศร้อนได้มากขึ้น จึงสามารถกระจายพื้นที่ปลูกไปสู่ภูมิภาคอื่นได้เช่นกัน แต่การผลิตบร๊อคโคลีนอกฤดูนั้นยังคงผลิตๆได้ในเขตภาคเหนือเท่านั้น



ประโยชน์ : นิยมทานในดอก ส่วนลำต้นและใบนิยมทานรองลงมา แต่ในด้านคุณค่าทางอาหารโยเฉพาะวิตามินซี กลับมีอยู่เป็นจำนวนมากในส่วนของลำต้น ดังนั้นหลังจากเก็บบร๊อคโคลี ไว้นานๆ แล้วพบว่าดอกเริ่มมีสีเหลืองไม่น่าทาน ยังไม่ควรทิ้งเพราะยังสามารถบริโภคในส่วนของลำต้นซึ่งมีคุณค่าทางอาหารสูงได้อีก ทั้งในส่วนของลำต้นนี้ยังมีรสชาติหวานกรอบ จึงกลายเป็นที่นิยมรับประทานของคนไทยมากขึ้นในปัจจุบัน ที่จะทานในส่วนของดอกควบคู่กับลำต้นไปด้วย ลักษณะโดยทั่วไป : บร๊อคโคลีเป็นผักที่ปลูกเพื่อบริโภคส่วนของดอกอ่อนและก้านดอกที่ปลอกเปลือกแล้ว ส่วนของดอกมีสีเขียว ประกอบด้วยดอกสีเขียวขนาดเล็กจำนวนมากที่รวมตัวกันแน่น ดอกแรกหรือดอกประธานอาจมีขนาดใหญ่ มีใบกว้างสีเขียวเข้มออกเทา ริมขอบใบเป็นหยัก ทรงพุ่มใหญ่เก้งก้าง ลำต้นใหญ่และอวบ ดอกอยู่รวมกันเป็นกลุ่มช่อหนาแน่นดูเป็นฝอยๆ สีเขียวเข้ม ดอกมีขนาดใหญ่ เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 16 เซนติเมตร มีคุณค่าทางอาหารสูงสภาพดินฟ้าอากาศที่เหมาะสม : บร๊อคโคลีมีความต้องการสภาพดินฟ้าอากาศที่ใกล้เคียงกับกะหล่ำดอก แต่บร๊อคโคลีจะถูกกระทบกระเทือนจากสภาพดินฟ้าอากาศที่ไม่เหมาะสมได้ง่ายกว่ากะหล่ำดอก บร๊อคโคลีสามารถขึ้นได้ในดินแทบทุกชนิด แต่จะชอบดินร่วนที่มีความอุดมสมบูรณ์สูง มีค่า pH ประมาณ 6.0-6.5 มีความชุ่มชื้นในดินสูง ชอบแสงแดดตลอดวัน ช่วงอุณหภูมิที่เหมาะสม คือ 18-27 องศาเซลเซียส มีอากาศค่อนข้างเย็น ช่วงเวลาที่เหมาะสมต่อการเพาะปลูก คือ ระหว่างเดือน พฤศจิกายน-ธันวาคม พันธุ์ : มีอยู่หลายพันธุ์ด้วยกัน แต่พันธุ์ที่สามารถเพาะปลูกในประเทศไทยได้ดี คือ 1. พันธุ์ เด ซิกโก ( De Cicco) มีอายุประมาณ 65 วัน 2. พันธุ์ ซากาต้าหรือพันธุ์ Green Duke มีอายุการเก็บเกี่ยวประมาณ 60 วัน3. พันธุ์ กรีน โคเมท ( Green Comet) เป็นพันธ์จากญี่ปุ่น เก็บเกี่ยวได้เร็ว มีอายุประมาณ 40 วัน ให้ผลผลิตสูง มีลักษณะตรงความต้องการของตลาด 4. พันธุ์ของเจียไต๋ ให้ผลผลิตสูง ** พันธุ์บร๊อคโคลีที่ดีและเหมาะสมต่อการเพาะปลูกในสภาพภูมิอากาศของประเทศไทย ควรเป็นพันธุ์เบาและมีอายุการเก็บเกี่ยวสั้น ดอกอ่อนมีสีเขียวเข้มและรวมตัวกันแน่น ขนาดของดอกสม่ำเสมอ ขนาดดอกประธานควรมีความใหญ่ประมาณ 10-15 เซนติเมตร เจริญเติบโตเร็วและทนทานต่อโรค ** สำหรับพันธุ์บร๊อคโคลีที่มีจำหน่ายในบ้านเรา ได้แก่ พันธุ์ Di cico] ryoT6N Morakot ,พันธุ์ Negro , พันธุ์ Toro พันธุ์ Top green ,พันธุตราช้างเบอร์ 12 ,พันธุ์ตราช้างเบอร์ 30,พันธุ์โคย่า,พันธุ์ไต้หวัน เป็นต้น
การปลูกและการดูแลรักษา : เนื่องจากบร๊อคโคลีเป็นพืชผักที่มีทรงพุ่มกว้างกว่าผักจำพวกกินใบชนิดอื่น จึงต้องการระยะปลูกระหว่างต้นพอสมควร และเมล็ดพันธุ์มีราคาแพง วิธีการเพาะเมล็ดและย้ายกล้าลงปลูกจึงเป็นวิธีที่เหมาะสมกว่า ฉะนั้นการเตรียมดินจึงควรมีการเตรียมดินในส่วนของแปลงเพาะกล้าและแปลงเพาะปลูก เพื่อให้มีความเหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของบร๊อคโคลี ดังนี้ การเตรียมดินแปลงเพาะกล้า ให้ขุดพลิกดินลึก ประมาณ 15 เซนติเมตร ตากดินทิ้งไว้5-7วัน ทำการย่อยพรวนดินให้ให้แตกเป็นก้อนเล็กๆ ผสมปุ๋ยหมัก ปุ๋ยคอก หรือใส่ปุ๋ยขี้เป็ดผสมกากถั่ว ในอัตรา 300 กก./ไร่ สำหรับพื้นที่การปลูก 1 ไร่ ควรเตรียมแปลงเพาะกล้าขนาดประมาณ 5-10 ตารางเมตรการเตรียมดินแปลงปลูก ขุดพลิกดินลึกประมาณ 15-20 เซนติเมตร ตากดินทิ้งไว้ 7-10 วัน แล้วย่อยพรวนดินใส่ปุ๋ยขี้เป็ดปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอกในอัตรา 300 กก./ไร่ และ ปูนขาวเพื่อปรับสภาพความเป็นกรดเป็นด่างของดินในอัตรา 380-1,000 กก./ไร่ คลุกเคล้าให้เข้ากันกับดินในแปลงปลูก การเพาะกล้า การเพาะกล้าบร๊อคโคลีเพื่อทำการเพาะปลูกบนพื้นที่ 1 ไร่ จะใช้เมล็ดพันธุ์ 100 – 150 กรัม หว่านลงในแปลงปลูก ขนาด 5 - 10 ตารางเมตร หากต้องการเพิ่มหรือลดขนาดพื้นที่ปลูกลงจาก 1 ไร่ สามารถเทียบลดสัดส่วนอัตราการใช้เมล็ดพันธุ์ในแปลงเพาะกล้าได้จากอัตราส่วนดังกล่าว หรือหากในบริเว๊ณที่ทำการเพาะปลูกมีสภาพแวดล้อมที่ไม่อำนวย เช่น ความชื้นในดินไม่เหมาะสม มีโรคและแมลงรบกวนมาก ก็ควรใช้เมล็ดพันธุ์เพาะกล้าให้มากขึ้นโดยใช้ปริมาณเมล็ดพันธุ์หนัก 100 กรัมหลังจากเพาะกล้าแล้วประมาณว่าจะได้ต้นกล้าที่แข็งแรงประมาณ 17,800 ต้น(ประมาณจากเมล็ดหนัก 100 กรัมจะมีจำนวนเมล็ดประมาณ 31,770 เมล็ด) ** อุณหภูมิในดินที่เหมาะสมสำหรับการงอกของเมล็ดพันธุ์บร๊อคโคลี อยู่ในระหว่างช่วง 7.2 - 29.4 องศาเซลเซียส แต่อุณหภูมิที่เหมาะสมที่สุดคือ 26.6 องศาเซลเซียส

วิธีการเพาะปลูก : หลังจากต้นกล้ามีอายุได้ประมาณ 25-30 วัน จึงถอนย้ายกล้าลงแปลงปลูก โดยใช้วิธีการเดียวกันกับการย้ายกล้าพืชผักชนิดอื่นๆ คือ ทำการถอนกล้าไว้ก่อนในช่วงเช้าที่ยังไม่มีแดดจัด และก่อนถอน ย้ายกล้าควรรดน้ำลงแปลงกล้าให้ชุ่มชื้นก่อน เพื่อให้ง่ายต่อการถอนแยกและไม่ทำให้กล้าเหี่ยวเฉาเร็วเกินไป ควรระมัดระวังขณะถอนกล้าอย่าให้กล้าได้รับความกระทบกระเทือนหรือช้ำ เพราะจะส่งผลต่อการเจริญเติบโตของพืชและกล้าอาจตายได้ ส่วนวิธีการถอนกล้า ให้ใช้มือดึงตรงส่วนของใบขึ้นมาโดยตรง แต่ไม่ควรจับที่ลำต้นเพาะจะทำให้ต้นได้รับความกระทบกระเทือนและช้ำได้ง่าย จากนั้นนำต้นกล้าที่ถอนแยกออกมาแล้วใส่ในเข่งเอาผ้าชุบน้ำคลุมเก็บไว้ในที่ร่ม เพื่อรอปลูกลงแปลงในช่วงเย็นช่วงแดดอ่อนๆ ประมาณ 3-4 โมงเย็น จึงนำมาปลูกลงในแปลง โดยก่อนปลูกให้รดน้ำแปลงให้ชุ่มแล้วใช้นิ้วหรอไม้จิ้มรูปักต้นกล้าลงดิน แล้วกดดินโคนต้นพอประมาณแต่ไม่ต้องแน่น ใช้ระยะปลูกระหว่างต้น 30-60 เซนติเมตร และ ระยะระหว่างแถว 50-100 เซนติเมตรสำหรับหลักการเลือกระยะปลูกให้มีความห่างเท่าไหร่นั้น ควรพิจารณาจากสภาพภูมิอากาศในพื้นที่ประกอบด้วย ถ้าอากาศในพื้นที่ค่อนข้างร้อนให้ปลูกถี่ ถ้าอากาศเย็นให้ปลูกห่าง หรือ ตามแต่สภาพความสมบูรณ์ของดิน โดยใช้หลักดินเลวปลูกถี่ ดินดีปลูกห่าง เพราะผลของการปลูกห่างในสภาพดินดีจะทำให้บร๊อคโคลีมีลำต้นโตได้เต็มที่ไม่เบียดเสียดกันแน่นมากจนเกินไป หลังจากปลูกแล้วควรคลุมแปลงด้วยฟางข้าวแห้ง หรือหญ้าแห้งบางๆ เพื่อช่วยให้ต้นกล้าตั้งตัวได้เร็วยิ่งขึ้น และหลังจากเปื่อยยุ่ย ฟางข้าวเหล่านี้จะย่อยสลายกลายเป็นอินทรียวัตถุให้กับดินได้ดีอีกด้วย การให้น้ำ : แบ่งเป็น 2 ช่วง คือ ช่วงแรก คือ หลังจากย้ายปลูกลงแปลงใหม่ๆ พืชจะไม่ต้องการน้ำมากนัก แต่มีความต้องการน้ำอย่างสม่ำเสมอ ในปริมาณที่พอดี ไม่ควรให้น้ำจนดินแฉะ ระยะนี้ให้รดน้ำวันละ 2 ครั้งเช้า-เย็น โดยการใช้เครื่องพ่นฝอยหรือใช้บัวรดน้ำเป็นฝอยให้ทั่วแปลง ช่วงที่ 2 คือ เมื่อลำต้นเจริญเติบโตเป็นต้นใหญ่ จนถึงระยะเกิดดอก ผักต้องการน้ำมากขึ้นเพราะเมื่อผักโตขึ้นจะเกิดขบวนการที่ทำให้ต้องมีการสูญเสียน้ำมากขึ้น และในขณะที่พืชผักเจริญเติบโตจนถึงระยะที่เริ่มมีการพัฒนาการเจริญเติบโตของดอก น้ำจะกลายเป็นปัจจัยหลักที่จำเป็นมากที่จะมีส่วนช่วยให้ผักเติบโตสมบูรณ์ มีดอกใหญ่ ฉะนั้นจึงไม่ควรให้บร๊อคโคลีขาดน้ำในช่วงนี้ และควรให้น้ำผักอย่างสม่ำเสมอในช่วงนี้ด้วย การให้น้ำในระยะนี้จะให้ 2 เวลา คือ เช้า-เย็นในปริมาณที่มากขึ้นกว่าการให้ในช่วงแรก

การให้ปุ๋ย : ปุ๋ยสูตรที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตและพัฒนาการของบร๊อคโคลี คือ สูตร 10-10-20 หรือ สูตร 13-13-21 การใส่ควรแบ่งให้ 2 ครั้ง ครั้งละประมาณ 25-27 กก./ไร่ โดยใส่ครั้งแรกเป็นปุ๋ยรองพื้นก่อนปลูกหรือใช้กลบฝังข้างร่องแถวปลูก ครั้งที่สองใส่หลังจากปลูกได้ประมาณ 20 วัน โดยใส่แบบโรยข้างแถวแล้วพรวนดินกลบ สำหรับปลูกแบบเป็นไร่ ส่วนแปลงปลูกแบบเป็นร่องมีคูน้ำล้อมรอบแบบภาคกลาง การใส่ปุ๋ยด้วยวิธีดังกล่าว อาจจะทำไม่สะดวกการหว่านปุ๋ยจึงเป็นเป็นวิธีการที่เหมาะสมกว่า แม้จะเป็นวิธีการที่ทำให้สิ้นเปลืองปุ๋ยมากก็ตามที แต่เพื่อความประหยัดและได้ผลดีจริงการใส่ปุ๋ย ข้างแถวปลูกแล้วพรวนดินกลบจึงเป็นวิธีที่ดีที่สุดอาจพิจารณาให้ปุ๋ยยูเรียหรือแอมโมเนียมไนเตรทเป็นปุ๋ยเสริม เมื่อเห็นว่าพืชมีการเจริญเติบโตช้าลง โดยให้ในอัตรา 20 กก.ไร่ โดยวิธีการใส่ข้างแถวแล้วพรวนดินกลบ แบ่งให้ 2 ครั้ง ครั้งแรกเมื่อพืชมีอายุได้ประมาณ 7 วัน ครั้งที่ 2 ให้เมื่อพืชมีอายุได้ประมาณ 30 วัน ในการปลูกบร๊อคโคลี ควรมีการให้ธาตุโบรอนและโมลิบดีนัมเสริมด้วย เพื่อป้องกันการขาดธาตุดังกล่าว แต่ในดินที่มีการปรับปรุงด้วยปูนขาวก่อนปลูกมักจะไม่พบว่าบร๊อคโคลีมีอาการขาดธาตุนี้

โรคและแมลงศัตรูที่สำคัญของบร๊อคโคลี : ได้แก่โรคเน่าเละ,โรคอึนหรือโรคไส้ดำ หนอนคืบกะหล่ำ หนอนใยผัก หนอนกะหล่ำปลี หนอนกระทู้หอมเป็นต้นการเก็บเกี่ยว : อายุของบร๊อคโคลีนับตั้งแต่วันย้ายปลูกจนถึงวันที่สามารถเก็บเกี่ยวได้ จะประมาณ 70 – 90 วัน โดยเลือกตัดดอกที่มีกลุ่มดอกเกาะตัวกันแน่น โตขนาดประมาณ 10-16 เซนติเมตร และต้องรีบตัดดอกก่อนที่ดอกจะบานกลายเป็นสีเหลือง เพราะจะทำให้ขายไม่ได้ ควรใช้มีดมีคมตัดให้ชิดโคนต้น แล้วขนออกมาตัดข้างนอกแปลงปลูก การตัดแต่งควรตัดแต่งให้เหลือดอกและต้นยาวประมาณ 16-20 เซนติเมตร ตัดใบออกให้เหลือติดดอกประมาณ 2 – 3 ใบ เพื่อเอาไว้พันรอบดอก เป็นการป้องกันการกระทบกระเทือนระหว่างการขนส่ง สำหรับผลผลิตโดยเฉลี่ย ช่วงฤดูร้อนจะได้ผลผลิตประมาณ 1,300-1,500 กก.ไร่ ในช่วงฤดูหนาวจะได้ผลผลิตประมาณ 2,000-3,000 กก./ไร่

การดูแลหลังการเก็บเกี่ยว : ปัญหาดอกบร๊อคโคลี หลังกการเก็บเกี่ยวก็คือ การเปลี่ยนแปลงสีของดอกที่จะเป็นไปอย่างรวดเร็วมาก โดยเฉพาะการเก็บเกี่ยวดอกที่ดอกย่อยใกล้บานแล้ว จะทำให้กลายเป็นสีเหลืองและขายไม่ได้ราคา บางครั้งการเปลี่ยนแปลงสีของดอกนี้อาจเปลี่ยนไปเพียงชั่วข้ามคืน ซึ่งมีสาเหตุมาจากการเก็บไว้ในที่ที่มีอุณหภูมิสูงและสภาพอากาศร้อนเกินไป ฉะนั้นควรระวังเรื่องอุณหภูมิที่จะใช้ในการเก็บรักษาผลผลิตให้ดี เพื่อป้องกันความเสียหายดังกล่าว

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น