วันพฤหัสบดีที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2553

ลำไย

ลำไย

สภาพพื้นที่ พื้นที่ปลูกลำไยเป็นที่เนินระหว่างภูเขา มีความลาดเอียงเพียงเล็กน้อย ดินเป็นดิน
ร่วนเหนียว มีความอุดมสมบูรณ์ดี
พันธุ์ ใช้พันธุ์อีดอ เป็นพันธุ์ที่เกษตรกรในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนนิยมปลูก
มากที่สุด เนื่องจากออกดอกและเก็บผลก่อนพันธุ์อื่น เป็นพันธุ์ที่เจริญเติบโตดี โดยเฉพาะในดินอุดม
สมบูรณ์
ระยะปลูก 8x8 เมตร
3
การให้ปุ๋ย หลังจากเก็บเกี่ยวผลผลิตในเดือนสิงหาคม ทำการใส่ปุ๋ยสูตร 15-15-15 อัตรา 1.5
กิโลกรัมต่อต้น และใส่ปุ๋ยคอก อัตรา 10 กิโลกรัมต่อต้น หลังจากนั้น 10-15 วัน จะเริ่มแตกยอด ทำการ
พ่นปุ๋ยทางใบสูตร 0-52-34 อัตรา 150 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร เพื่อบำรุงยอด หลังจากราดสาร 3 วัน ใส่ปุ๋ย
สูตร 8-24-24 อัตรา 1.5 กิโลกรัมต่อต้น ใช้แกลบและฟางกลบบริเวณโคนต้น พ่นปุ๋ยทางใบสูตร 0-52-34
อัตรา 150 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร กระตุ้นให้ใบแก่จะทำให้แทงช่อดอกได้เร็วขึ้น ในช่วงดอกตูม พ่นสาร
แคลเซียม โบรอน อัตรา 300 มิลลิลิตรต่อน้ำ 200 ลิตร เพื่อช่วยให้ดอกสมบูรณ์มีขนาดใหญ่ ช่วยพัฒนา
ดอกให้ติดผลเร็วขึ้น และลดการหลุดร่วงของผลอ่อน ในช่วงติดผลเล็กประมาณเดือนพฤษภาคม ใส่ปุ๋ย
สูตร 15-15-15 อัตรา 2 กิโลกรัมต่อต้น และปุ๋ยคอก อัตรา 10 กิโลกรัมต่อต้น เพื่อบำรุงผลให้เจริญเติบโต
ประมาณกลางเดือนมิถุนายน ใส่ปุ๋ยสูตร 13-13-21 อัตรา 2 กิโลกรัมต่อต้น เพื่อเพิ่มคุณภาพของผลผลิต
การให้น้ำ การปลูกลำไยของเกษตรกรอาศัยน้ำฝนเป็นหลัก แต่ในช่วงฤดูแล้งก็มีแหล่งน้ำเสริม
คือน้ำจากสระ โดยเกษตรกรจะใช้เครื่องสูบน้ำและรดลำไยด้วยสายยาง การให้น้ำมีความจำเป็นอย่าง
มากซึ่งต้องมีการให้น้ำอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะในช่วงที่มีการราดสารโพแทสเซียมคลอเรต ต้องให้น้ำ
อย่างระมัดระวังและต่อเนื่อง หลังจากติดผลก็ให้น้ำอย่างสม่ำเสมอ โดยเกษตรกรจะสังเกตความชื้นใน
ดินก่อนที่จะให้น้ำ
การราดสารโพแทสเซียมคลอเรต (KClO3) การผลิตลำไยในฤดูกาลปกติเกษตรกรจะ
ประสบปัญหาลำไยออกดอกไม่สม่ำเสมอซึ่งจะออกดอกประมาณ 40-60 เปอร์เซ็นต์ ของจำนวนกิ่ง
เกษตรกรจึงใช้สารโพแทสเซียมคลอเรต เพื่อให้ลำไยออกดอกมากและสม่ำเสมอ ถ้าหากไม่ราดสารลำไย
จะออกดอกน้อยและออกเฉพาะบางกิ่งเท่านั้นทำให้ได้ผลผลิตต่ำ และนอกจากนี้ยังมีจุดประสงค์เพื่อให้
ลำไยออกดอกได้เร็วขึ้น ซึ่งจะเก็บผลผลิตได้เร็วขึ้นทำให้ขายได้ราคาดี โดยปกติแล้วลำไยโดยทั่วไปจะ
ออกดอกไม่เกินวันที่ 15 มกราคม แต่ถ้าราดสารโพแทสเซียมคลอเรต จะทำให้ออกดอกเร็วขึ้น คือจะ
ออกดอกในวันที่ 1 มกราคม (ลำไยจะแทงช่อดอกหลังจากราดสาร 1 เดือน
การเตรียมต้น หลังจากมีการให้ปุ๋ยบำรุงหลังจากเก็บเกี่ยวในเดือนสิงหาคมลำไยจะ
แทงยอด ในเดือนตุลาคมใบลำไยจะอยู่ในระยะใบเพสลาด ทำการริดใบออกให้เหลือกิ่งละ 4 ใบ
4
หลังจากนั้นประมาณ 1 สัปดาห์ ลำไยจะแทงยอดออกมาอีก ทำการพ่นสารป้องกันกำจัดแมลงอีกครั้ง เมื่อ
ถึงระยะใบเพสลาด ประมาณต้นเดือนพฤศจิกายนทำการราดสารโพแทสเซียมคลอเรต ก่อนราดสารต้อง
ทำความสะอาดบริเวณโคนต้นรอบทรงพุ่ม กำจัดวัชพืชและกวาดเอาวัสดุคลุมดินออก จากนั้นรดน้ำให้
ชุ่มต้นละประมาณ 200 ลิตร
วิธีการราดสารโพแทสเซียมคลอเรต หลังจากให้น้ำ 2 วัน ทำการราดสารโดย
ละลายน้ำราดให้ทั่วบริเวณทรงพุ่ม ต้นลำไยอายุ 4-5 ปี ใช้อัตรา 0.3 กิโลกรัมต่อต้น ลำไยอายุ 8 ปี ใช้
อัตรา 0.5 กิโลกรัมต่อต้น หลังจากราดสารต้องให้น้ำวันละ 1 ครั้ง 3 วันติดต่อกัน หลังจากนั้นควรให้น้ำ
อย่างสม่ำเสมอจนกระทั่งลำไยออกดอก เมื่อถึงต้นเดือนมกราคมลำไยจะแทงช่อดอก ครั้งแรกควรให้น้ำ
ทีละน้อย ๆ พอชุ่ม หลังจากนั้นให้น้ำเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ โดยให้น้ำทุก ๆ 3-4 วัน จนติดผล
การค้ำกิ่ง หลังระยะติดผล ผลลำไยจะเจริญเติบโตขึ้นเรื่อยๆ เกษตรกรมีการใช้ไม้ไผ่ หรือกิ่ง
ไม้ ค้ำตามกิ่งของลำไย เพื่อช่วยพยุงกิ่งไม่ให้ฉีกหัก
การป้องกันกำจัดศัตรูลำไย ในช่วงหลังจากใส่ปุ๋ยครั้งแรกลำไยจะแตกยอดอ่อน ศัตรูที่
สำคัญคือหนอนกินใบ แมลงกินนูน และด้วงงวงช้าง ทำการพ่นสารป้องกันกำจัดแมลง โดยพ่นสารไซ
เพอร์เมทริน 2 ครั้ง หลังจากติดผลจะพ่นสารเคมีป้องกันกำจัดโรคและแมลงเดือนละ 1 ครั้ง โดยพ่นสาร
ไซเพอร์เมทริน แมนโคเซบ หรือแคบแทน โดยจะหยุดพ่นสารเคมีก่อนเก็บเกี่ยวผลผลิตอย่างน้อย 1
เดือน ซึ่งเกษตรกรมีความมั่นใจในความปลอดภัยของผลผลิต
การกำจัดวัชพืช ใช้วิธีการตัด
การเก็บเกี่ยว ลำไยจะเริ่มเก็บเกี่ยวได้ในช่วงปลายเดือนกรกฎาคม การเก็บเกี่ยวใช้กรรไกร
ตัดช่อผลลำไย นำช่อผลใส่ตะกร้าขนย้ายไปยังสถานที่คัดเกรด
วิทยาการหลังการเก็บเกี่ยว สถานที่คัดเกรดเป็นอาคารเล็ก ๆ อยู่บริเวณข้างแปลงลำไย
เกษตรกรจะนำลำไยที่ตัดจากต้นมาวางบนเสื่อ ทำการตัดผลลำไยที่มีขนาดเล็กไม่ได้มาตรฐานในแต่ละ
ช่อออกจากช่อผล และตัดกิ่งแห้งในช่อผลออกเพื่อความสวยงาม มัดช่อผลลำไยมัดละประมาณ 1
กิโลกรัม บรรจุใส่ถุงพลาสติกที่เจาะรูระบายอากาศรอบถุง โดยบรรจุถุงละ 10 กิโลกรัม ในการจำหน่าย
จะมีพ่อค้ามารับซื้อที่แปลง หรือบางครั้งจะนำไปจำหน่ายเอง

สตอเบอรี่



การปลูกสตอเบอรี่
การปลูกสตรอเบอรี่ลักษณะทั่วไปเป็นไม้ผลขนาดเล็กให้ผลผลิตในหนึ่งฤดู ผลสุกมีรสเปรี้ยวหวาน กลิ่นหอม สีแดง เป็นที่นิยมของผู้บริโภค เป็นพืชอยู่ในวงศ์ Rosaceae มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Fragaria ananassa เป็นไม้พุ่มที่สูงจากผิวดิน 6-8 นิ้ว ทรงพุ่มกว้าง 8-12 นิ้ว ระบบรากดีมาก แผ่กระจายประมาณ 12 นิ้ว ใบแยกเป็นใบย่อย 3 ใบ มีก้านใบยาว ขอบใบหยัก ลำต้นสั้นและหนา ดอกเป็นกลุ่ม มีกลีบรองดอกสีเขียว 5 กลีบ กลีบดอกสีขาว 5 กลีบ มีเกสรตัวผู้และเกสรตัวเมียกระจายอยู่เหนือฐานรองดอก ผลเจริญเติบจากฐานรองดอก มีผลขนาดเล็ดคล้ายเมล็ดจำนวนมากติดอยู่รอบเรียกว่า “เอคีน (Achene)”พันธุ์สตรอเบอรี่การปลูกสตรอเบอรี่ในประเทศไทย โดยเฉพาะภาคเหนือมีมานานพอสมควร แต่ สตรอเบอรี่ที่ปลูกพันธุ์ที่ให้ผลผลิตต่ำ ผลเล็ก สีซีด และช้ำง่ายในปัจจุบันมีพันธุ์ที่เหมาะสมและปลูกได้ผลดี ผลผลิตสูงผลใหญ่ เรียว เนื้อแน่น สีแดงจัด รสชาติดี ใบย่อย ใบกลางเรียวหยักปลายใบใหญ่ ต้นใหญ่ ให้ผลผลิตยาวนาน พันธุ์ดังกล่าวเรียกกันว่าพันธุ์ “ไทโอก้า”ความต้องการสภาพดินฟ้าอากาศดินที่ปลูกสตรอเบอรี่ควรเป็นดินร่วนปนทราย ความเป็นกรดเป็นด่างอยู่ในระหว่าง 5-7 ซึ่งเป็นดินที่สภาพเป็นกรดเล็กน้อยสตอเบอรี่ต้องการช่วงแสงต่ำกว่า 11 ชั่วโมง และอุณหภูมิหนาว-เย็น ในการติดดอกออกผล ถ้าอุณหภูมิยิ่งต่ำยิ่งทำการติดดอกออกผลดีขึ้นการปลูกเพื่อต้องการผลควรปลูกในเดือนกรกฎาคม-ตุลาคม โดยต้นอ่อนหรือไหลที่จะปลูกควรมีแขนไหลที่มีข้อติดด้วยการเตรียมแปลงปลูกทำนองเดียวกับแปลงปลูกผักคือ การปลูกต้องใช้ส่วนโคนของลำต้นการติดดอกออกผลเมื่ออุณหภูมิลดต่ำลง และช่วงแสงสั้นเข้าซึ่งประมาณเดือนพฤศจิกายน สตรอเบอรี่จะเริ่มติดดอกและผลจะสุกหลังจากติดดอก 21-25 วัน ผลสตรอเบอรี่ระยะแรกจะมีสีเขียว และค่อย ๆ เปลี่ยนเป็นสีขาว เมื่อผลแก่จะเปลี่ยนเป็นสีแดงเข้ม มีรสเปรี้ยวปนหวาน เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 1.5-3.5 ซม.ผลจะสุกมากที่สุดเดือนมีนาคม และจะหมดประมาณเดือนเมษายน - พฤษภาคมการเก็บเกี่ยวเนื่องจากผลสตรอเบอรี่ช้ำง่าย การเก็บเกี่ยวต้องคำนึงถึงระยะทางในการขนส่งสู่ตลาดถ้าระยะทางไกลต้องเก็บผลสุกหรือเห็นสีแดง 50% ซึ่งจะได้ผลแข็งสะดวกแก่การขนส่ง ถ้าระยะทางใกล้ควรเก็บผลสุกหรือสีแดง 75% เวลาที่เก็บ ควรเก็บตอนเช้า เมื่อเก็บแล้วไม่ควรให้ผลถูกแสงแดด ซึ่งจะทำให้ผลเน่าเร็วควรเก็บทุก 1-2 วันการบรรจุและขนส่งเนื่องจากผลสตรอเบอรี่บอบช้ำง่าย โดยเฉพาะถ้าเส้นทางคมนาคมไกลและไม่ดีเท่าที่ควร การบรรจุผลสตอเบอรี่เป็นขั้นตอนที่สำคัญ ภาชะนะที่บรรจุจะต้องไม่มีส่วนที่แหลมคมซึ่งจะทำให้ผลเสียหาย การวางผลจะต้องวางไม่เกินสองชั้น ถ้าพบว่ามีผลเสียควรคัดออกทันทีเพื่อป้องกันผลข้างเคียงพลอยเน่าเสียหายไปด้วยในกรณีเส้นทางคมนาคมลำบากไม่สามารถขายผลสดจำเป็นต้องขายผลช้ำ ต้องตัดหัวขั้วและส่วนที่เน่า แล้วบรรจุในปี๊บที่ภายในรองด้วยถุงพลาสติก ถ้าระยะทางไกลจากตลาดมากหรือจำเป็นต้องเก็บผลสตรอเบอรี่ไว้ค้างคืนการใส่น้ำตาลเพื่อรักษาคุณภาพของผล โดยใช้น้ำตาล 4 กก. ต่อผลสตรอเบอรี่ 10 กก.การปฏิบัติหลังจากสตรอเบอรี่ให้ผลแล้วเมื่อถึงเดือนเมษายนต้นสตรอเบอรี่เริ่มหยุดให้ผล เนื่องจากอุณหภูมิเริ่มสูงขึ้นช่วงแสงเริ่มยาวขึ้น ต้นสตรอเบอรี่จะเริ่มเจริญเติบโตด้านลำต้น กสิกรในพื้นราบมักจะขุดต้นสตรอเบอรี่ทิ้งด้วยสาเหตุดังต่อไปนี้.-1. การดูแลรักษาต้นสตรอเบอรี่ข้ามปี ในสภาพที่อุณหภูมิสูงทำได้ยาก และเสียค่าใช้จ่ายในการดูแลสูง เนื่องจากต้นสตรอเบอรี่ไม่ทนต่อสภาพอากาศที่ร้อน และสภาพอากาศที่อุณหภูมิสูงโรคของสตรอเบอรี่ระบาดง่าย2. เพื่อใช้ประโยชน์ที่ดินหลังจากปลูกสตรอเบอรี่หยุดให้ผล เช่น ปลูกผักหรือพืชไร่ซึ่งได้ผลตอบแทนสูงกว่า 3. การที่ทำลายต้นสตรอเบอรี่ เป็นการทำลายแหล่งเพาะเชื้อโรคของสตรอเบอรี่ได้ผลดี

ลิ้นจี่

ลิ้นจี่
ลิ้นจี่(Litchi chinensis Sonn) เป็นผลไม้เศรษฐกิจสำคัญชนิดหนึ่ง ที่ทำรายได้ให้แก่จังหวัดสมุทรสงคราม
แหล่งปลูกดั้งเดิมนั้นอยู่ทางตอนใต้ของประเทศจีน ซึ่งพ่อค้าชาวจีนได้นำลิ้นจี่มาขายทางเรือพร้อมสินค้าอื่น ๆ
ตามลำคลองต่าง ๆ ของแม่น้ำแม่กลองและคลองแควอ้อม เมื่อเกษตรกรได้บริโภคผลลิ้นจี่แล้วจึงนำเมล็ดไปปลูก
เมื่อต้นลิ้นจี่ให้ผลผลิตจึงทราบว่ามีรสชาติที่อร่อยจึงนำมาขยายพันธุ์ต่อไป ซึ่งมีอยู่หลายพันธุ์ด้วยกัน
แต่ที่นิยมที่สุดคือพันธุ์ค่อม เพราะมีรสชาติที่หวานหอมอร่อย ราคาดี ปัจจุบันมีพื้นที่ปลูกทั่วจังหวัด ประมาณ
6,637 ไร่ ส่วนใหญ่อยู่ในเขตอำเภอบางคนที และอำเภออัมพวา ลิ้นจี่จังหวัดสมุทรสงครามได้ชื่อว่าเป็นลิ้นจี่
ที่มีรสชาติดีที่สุดก็ว่าได้ ราคาจึงค่อนข้างแพง การปลูกและการดูแลรักษาก็ง่าย โรคแมลงก็รบกวนน้อย
จึงเป็นที่รู้จักแพร่หลายเกือบทุกจังหวัดของประเทศไทย ว่าลิ้นจี่แม่กลองเป็นสุดยอดของลิ้นจี่เมืองไทย


สภาพแวดล้อมที่เหมาะสม

ดิน ที่เหมาะสมแก่การเจริญเติบโตและให้ผลผลิตดี คือ ดินร่วนเหนียว หน้าดินลึก มีอินทรีย์วัตถุมาก ระบายน้ำ
ได้ดี มีค่าความเป็นกรดเป็นด่างของดินประมาณ 6 - 7
อากาศ อากาศที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตและออกดอกต่อผลของลิ้นจี่ ต่ำกว่า 20 องศาเซลเซียส
ไม่น้อยกว่า 120 ชม. เมื่อออกดอกแล้วอุณหภูมิจะสูงขึ้นก็ไม่เป็นไร แต่ถ้าสูงเกิน36.5 องศาเซลเซียส ขึ้นไป
จะทำให้มีผลกระทบต่อดอกของลิ้นจี่ คือ ดอกจะไม่สมบูรณ์ แห้ง หรือร่วงมาก
ความชื้นในอากาศ ความชื้นสัมพันธ์ที่เหมาะสมที่สุดสำหรับลิ้นจี่ในระยะก่อนออกดอกและระยะกำลัง
จะติดผลควรต่ำกว่า 80 เปอร์เซ็นต์ ถ้าสูงกว่านี้ดอกจะร่วง

การคัดเลือกพันธุ์มาปลูก
ลิ้นจี่ในเมืองแม่กลองหรือจังหวัดสมุทรสงคราม มีมากมายหลายพันธุ์ เช่น พันธุ์ค่อม , กะโหลกใบยาว,
กะโหลกใบไหม้, กะโหลกในเตา, พันธุ์แห้ว, พันธุ์จีน, พันธุ์ไทยธรรมดา , พันธุ์ไทยใหญ่, พันธุ์สาแหรกทอง, พันธุ์สำเภาแก้ว, พันธุ์ช่อระกำ, พันธุ์เขียวหวาน พันธุ์ที่นิยมมากที่สุดในจังหวัดสมุทรสงคราม คือ พันธุ์ค่อม

พันธุ์ค่อม

ลักษณะประจำพันธุ์

- ลำต้นและกิ่งเรียบ ลำต้นสีน้ำตาลอ่อน กิ่งแข็งแรง ทรงพุ่มค่อนข้างกลมไม่สูง ใบแคบเรียวเป็นลอน
กลางใบพอง ปลายใบเรียวแหลม ใบมี 2-4 คู่ สี่ใบด้านบนเขียวเป็นมัน ขอบใบเป็นคลื่นเล็กน้อย ผลมีขนาดใหญ่
กลมสีแดงเข้ม เปลือกกรอบบาง หนามห่างสั้นแหลม เนื้อหนา หวาน มีกลิ่นหอมพิเศษ เนื้อแห้ง สีขาวขุ่น

การขยายพันธุ์
การขยายพันธุ์ลิ้นจี่ ทำได้หลายวิธี ได้แก่ การตอน การทาบกิ่ง การเสียบยอด แต่วิธีที่นิยมขยายพันธุ์ลิ้นจี่ คือ

การตอนระยะการปลูก
พื้นที่ในจังหวัดสมุทรสงครามส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ยกร่อง ระยะการปลูกลิ้นจี่ 8 x 8 เมตร
การเตรียมหลุมปลูก
หลุมปลูกลิ้นจี่ควรขุดหลุมในแนวตรงบนแปลงขนาดกว้าง ยาว ลึก ประมาณ 50 - 80 เซนติเมตร ผสมดิน
ปลูกด้วยปุ๋ยอินทรีย์ อัตราส่วน 3 : 1 โดยปริมาณ คลุกให้เข้ากันแล้วกลบลงหลุม โดยให้ดินบริเวณปากหลุม
สูงกว่าดินเดิม ประมาณ 15 เซนติเมตร เพื่อป้องกันการยุบตัวของดิน หาไม้ปักกลางหลุม เพื่อเป็นหลักแก่ต้นลิ้นจี่
การปลูกให้คุ้ยดินตรงโคนหลักไปเล็กน้อย แล้วนำกล้าลิ้นจี่ลงปลูก ตั้งยอดให้ตรงแนบกับหลักให้ระดับดินอยู่
เหนือตุ้มกาบมะพร้าวกิ่งตอนเล็กน้อยแล้ว กดบริเวณโคนด้วยมือให้แน่นแล้ว ผูกเชือกรัดลำต้นให้แนบกับหลัก
เพื่อกันลมโยกเพื่อกันไม่ให้รากลิ้นจี่ขาด จากนั้นควรทำซุ้มบังแดด โดยใช้ทางมะพร้าว หรือสะแลนพรางแสงแดด

การปฏิบัติดูแลรักษา

ลิ้นจี่ที่ปลูกใหม่ ควรให้น้ำสม่ำเสมอ เพื่อให้กิ่งที่ปลูกแตกใบอ่อน 3-4 ครั้ง/ปี



การให้ปุ๋ย
การให้ปุ๋ยลิ้นจี่ที่ยังไม่ให้ผลผลิต (อายุ 1 - 4 ปี)

การใส่ปุ๋ยสูตรเสมอ เช่น 25-7-7 ต้นละ ประมาณ ครึ่งกิโลกรัม/ต้น/ปี แบ่งใส่ 2 ครั้ง ต้นฝนและปลายฝน


การให้ปุ๋ยลิ้นจี่ที่ให้ผลผลิตแล้ว

1. หลังการเก็บเกี่ยวผลแล้วต้องตัดแต่งกิ่งและให้ปุ๋ยบำรุงต้นให้เจริญเติบโตสมบูรณ์ โดยใส่ปุ๋ยอินทรีย์ อัตรา 20-50

กิโลกรัมต่อต้น พร้อมปุ๋ยเคมี สูตรเสมอ เช่น 25-7-7 อัตรา 2 - 5 กิโลกรัม/ต้น เมื่อแตกใบอ่อน ใบเพสลาดใส่ปุ๋ย สูตร
15-15-15 หรือ 16-16-16 อัตรา 2-5 กก./ต้น
2. ให้ปุ๋ยเคมีเพื่อเตรียมต้นลิ้นจี่ให้พร้อมที่จะออกดอกในฤดูกาล คือ แตกใบอ่อน ครั้งที่ 2 ช่วงใบเพสลาด
ควรใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 8 - 24 - 24 , 12 - 24 - 12 อัตรา 2 - 5 กิโลกรัม/ต้น ประมาณ เดือน กันยายน-ตุลาคม
3. การให้ปุ๋ยในระยะติดผล ใช้ปุ๋ยสูตร 13 - 13 - 21 อัตรา 1 - 3 กิโลกรัมต่อต้น เพื่อให้ผลผลิตมีคุณภาพดี

4. การให้ปุ๋ยทางใบ เป็นการเสริมให้ต้นลิ้นจี่ได้รับปุ๋ยโดยตรงและต้นลิ้นจี่สามารถนำไปใช้ได้ทันที
ซึ่งการใช้ในกรณีต่อไปนี้

- เมื่อต้นลิ้นจี่แตกใบอ่อนช้า หรือไม่สม่ำเสมอ ควรใช้ปุ๋ยไทโอยูเรีย สูตร 13-0-46 อัตรา 100-150 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร
พ่นให้ทั่วทรงพุ่ม 1-2 ครั้ง ห่างกัน 7-10 วัน จะช่วยให้การแตกใบอ่อนเร็วขึ้นและพร้อมกัน
- ถ้าใบมีความสมบูรณ์ต่ำ คือ ใบไม่มีสีเขียวเข้มเป็นมัน ควรพ่นปุ๋ยทางใบสูตร 30-20-10 หรือ 20-20-20 อัตรา 20-30 ซีซี.
ต่อน้ำ 20 ลิตร จะช่วยเพิ่มความสมบูรณ์แก่ใบให้มากขึ้น
- ระยะใบแก่ก่อนออกดอกเพื่อช่วยให้ใบแก่เร็วขึ้น และช่วยป้องกันการแตกใบอ่อนเมื่อมีฝนตก ควรพ่นปุ๋ยทาง
ใบสูตร 0-52-34 อัตรา 100-150 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร 2 ครั้ง ห่างกัน 7-10 วัน
- ช่วงลิ้นจี่ใกล้ออกดอก ควรพ่นปุ๋ยทางใบเพื่อเพิ่มความสมบูรณ์และกระตุ้นตาดอก เช่น ปุ๋ยสูตร 10-52-17 หรือ
10-45-10 อัตรา 20-30 ซีซี. ต่อน้ำ 20 ลิตร และหลังจากแทงช่อดอกแล้วควรฉีดพ่นอีกครั้งเพื่อบำรุงช่อดอก
และช่วยให้ผลดีขึ้น
- ช่วงลิ้นจี่ติดผลขนาดโตปานกลาง อาจให้ปุ๋ยทางใบเพื่อช่วยเร่งการเจริญและเพิ่มคุณภาพของผล โดยใช้ปุ๋ยสูตร
10-20-30 อัตรา 20-30 ซีซี ต่อน้ำ 30 ลิตร

การปลูกแตงกวา



การปลูกแตงกวา


อุณหภูมิที่เหมาะสมต่อการงอกของเมล็ดระหว่าง 25-30 องศาเซลเซียส สามารถเจริญเติบโตได้ผลดีระหว่างอุณหภูมิ 20-30 องศาเซลเซียส อุณหภูมิกลางวัน 22-28 องศาเซลเซียส แตงกวาจะชะงักการเจริญเติบโต สำหรับอุณหภูมิที่เหมาะสมกับการผสมเกสรนั้นอยู่ระหว่าง 17-25 องศาเซลเซียส
แตงกวาเป็นพืชที่ไม่ต้องการน้ำมากแต่ขาดน้ำไม่ได้ โครงสร้างของดินที่ปลูกแตงกวาควรมีลักษณะเป็นดินร่วนปนทราย มีการระบายน้ำดี ควรมีความเป็นกรด ด่าง (pH) อยู่ระหว่าง 5.5-6.5 ในสภาพดินที่เป็นดินทรายจัด หรือเหนียวจัด จำเป็นต้องปรับปรุงบำรุงดินก่อนการปลูก โดยใช้ปุ๋ยอินทรีย์ เช่น ปุ๋ยคอก หรือปุ๋ยหมักที่สลายตัวแล้วและสภาพความเป็นกรดด่างนั้น ควรจะวิเคราะห์หาค่าความต้องการปูนก่อนที่จะใช้ปูนขาวเพื่อให้มีการใช้ในปริมาณที่เหมาะสม
การเตรียมดิน ก่อนการปลูกแตงกวา ไถพรวนดินตากไว้ประมาณ 7-10 วัน เพื่อทำลายวัชพืช และศัตรูพืชบางชนิดที่อยู่ในดิน จากนั้นจึงไถพรวนเก็บเอาเศษวัชพืชออก แล้วเตรียมแปลงขนาดกว้าง 1-1.2 เมตร โดยมีความยาวตามลักษณะของพื้นที่ แล้วจึงใส่ปุ๋ยอินทรีย์ลงไป ปรับโครงสร้างของดินให้เหมาะสมกับการเจริญเติบโตของแตงกวา การเตรียมหลุมปลูกนั้นควรกำหนดระยะระหว่างต้น ประมาณ 60-80 เซนติเมตร ระหว่างแถวประมาณ 1 เมตร สำหรับการใส่ปุ๋ยเคมีรองพื้นนั้นอาจใช้สูตร 15-15-15 ในอัตรา 30-50 กิโลกรัมต่อไร่ ในบางแหล่งอาจใช้ พลาสติกคลุมดินเพื่อรักษาความชื้นในดิน ป้องกันความงอกของวัชพืช และพลาสติกบางชนิดสามารถที่จะไล่แมลงไม่ให้เข้ามาทำลายแตงกวาได้
การเตรียมพันธุ์ ขั้นตอนการเตรียมพันธุ์ นับว่าเป็นขั้นตอนที่สำคัญในการปลูกแตงกวา ซึ่งพอแบ่งได้ดังนี้
1. การคัดเลือกเมล็ดพันธุ์แตงกวา ควรคัดเลือกเมล็ดพันธุ์ที่มีความสมบูรณ์ ซื้อจากร้านค้าให้เลือกซื้อจากร้านที่เชื่อถือ มีการบรรจุหีบห่อ เมล็ดที่สามารถป้องกันความชื้น หรืออากาศ จากภายนอกเข้าไปได้ ลักษณะเมล็ดแตงกวาควรมีการคลุกสารเคมี เพื่อป้องกันศัตรูพืชที่อาจติดมากับเมล็ด และก่อนใช้เมล็ดทุกครั้งควรทำการทดสอบความงอกก่อน
2. การเตรียมดินเพาะกล้า อัตราส่วนดิน : ปุ๋ยคอก 3:1 และใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 12-24-12 อัตรา 0.5 กิโลกรัมต่อต้นกล้า 1 ไร่ คลุกให้เข้ากัน แล้วบรรจุลงในถุงพลาสติกขนาด 6x10 เซนติเมตร เพื่อเตรียมสำหรับหยอดเมล็ดแตงกวาต่อไป
3. ทำการบ่มเมล็ด โดยนำเมล็ดบรรจุถุงพลาสติกที่เจาะรูพรุน แช่ในสารละลายเคมีป้องกันและกำจัดศัตรูพืช เช่น แคปเทน ออโธไซด์ ผสมอัตรา 5 กรัมต่อน้ำ 1 ลิตร แช่เมล็ดนาน 30 นาที เพื่อทำลายเชื้อราที่ผิวเมล็ด จากนั้นนำมาแช่น้ำ 4 ชั่วโมง แล้วจึงบ่มในผ้าชุบน้ำหมาด ๆ ซึ่งบรรจุอยู่ในถุงพลาสติกรัดปากถุงให้แน่น บ่มในสภาพอุณหภูมิห้องนาน 24 ชั่วโมง หลังจากรากงอกยาว 0.5 เซนติเมตร จึงนำไปเพาะต่อไป
4. การหยอดเมล็ดลงถุง นำเมล็ดที่ได้บ่มไว้หยอดลงแต่ละถุง จำนวนถุงละ 1 เมล็ด แล้วใช้ดินผสมหยอดกลบบางประมาณ 1 เซนติเมตร
การดูแลรักษากล้า หลังจากหยอดเมล็ดแล้ว ให้น้ำทันที โดยวิธีการฉีดพ่นให้เป็นฝอยละเอียดที่สุดเท่าที่จะทำได้ ปริมาณน้ำที่ให้นั้นไม่ควรให้ปริมาณที่มากเกินไป ในช่วงฤดูร้อน ควรจะให้วันละ 1 ครั้ง ทั้งนี้ให้ตรวจดูความชื้นก่อนการให้น้ำทุกครั้ง ถุงเพาะกล้านี้ควรเก็บไว้ในที่แดดไม่จัดหรือมีการใช้วัสดุกันแสงไม่ให้มากระทบต้นกล้ามากเกินเกินไปเมื่อแตงกวา เริ่มงอกให้หมั่นตรวจดูความผิดปกติของต้นกล้าเป็นระยะ ๆ หากมีการระบาดของแมลงหรือโรคพืช ต้องรีบกำจัดโดยเร็ว และเมื่อต้นกล้ามีใบจริงประมาณ 3-4 ใบ จะอยู่ในระยะพร้อมที่จะย้ายปลูก


การปลูกโดยไม่ใช้ค้าง
การปลูกโดยใช้ค้างสำหรับแตงกวาบางชนิด
การปลูก วิธีการปลูกแตงกวานั้น พบว่ามีการปลูกทั้งวิธีการหยอดเมล็ดโดยตรงและเพาะกล้าก่อนแล้วย้ายปลูก การหยอดเมล็ดโดยตรงนั้นอาจจะมีความสะดวกในการปลูก แต่มีข้อเสียคือสิ้นเปลืองเมล็ด หากใช้เมล็ดพันธุ์ลูกผสมซึ่งมีราคาแพงแล้ว จะเกิดความสูญเสียเปล่าและเป็นการเพิ่มต้นทุนการผลิต รวมทั้งวิธีการหยอดเมล็ดนี้จำเป็นที่จะต้องดูแลระยะเริ่มงอกในพื้นที่กว้าง ดังนั้นการใช้วิธีการเพาะกล้าก่อน จึงมีข้อดีหลายประการ อาทิเช่น ประหยัดเมล็ดพันธุ์ ดูแลรักษาง่าย ต้นกล้ามีความสม่ำเสมอ ประหยัดค่าแรงงานในระยะกล้า เป็นต้น
สำหรับการย้ายกล้าปลูกนั้น ให้ดำเนินการตามกระบวนการเพาะกล้าตามที่กล่าวแล้ว และเตรียมหลุมปลูกตามระยะที่กำหนด จากนั้นนำต้นกล้าย้ายปลูกลงในหลุม ตามระยะระหว่างต้นและระหว่างแถวตามที่ได้กำหนดไว้ โดยการฉีกถุงพลาสติกที่ใช้เพาะกล้าออกแล้วย้ายลงในหลุมปลูก ช่วงเวลาที่จะย้ายกล้านั้นควรย้ายช่วงประมาณเวลา 17.00 น. จะทำให้ปฏิบัติงานในไร่นาได้สะดวกและต้นกล้าสามารถปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมได้ดียิ่งขึ้น
การให้น้ำ หลังจากย้ายกล้าปลูกแล้ว ต้องให้น้ำทันที ระบบการให้น้ำนั้นอาจจะแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับสภาพพื้นที่ แต่ระบบที่เหมาะสมกับแตงกวา คือการให้น้ำตามร่อง เพราะว่าจะไม่ทำให้ลำต้น และใบไม่ชื้น ลดการลุกลามของโรคพืชทางใบ ช่วงเวลาการให้น้ำในระยะแรกควรให้ 2-3 วันต่อครั้งและเมื่อต้นแตงกวา เริ่มเจริญเติบโตแล้วจึงปรับช่วงเวลาการให้น้ำให้นานขึ้น ข้อควรคำนึงสำหรับการให้น้ำนั้น คือ ต้องกระจายในพื้นที่สม่ำเสมอตลอดแปลง และตรวจดูความชื้นในดินไม่ให้สูงเกินไปจนกลายเป็นแฉะ เพราะจะทำให้รากเน่าได้
การใส่ปุ๋ย การใส่ปุ๋ยในแตงกวานั้น อาจแบ่งเป็นระยะต่าง ๆ ดังนี้
1. ระยะเตรียมดิน ใส่ปุ๋ยอินทรีย์ เช่น ปุ๋ยคอก หรือปุ๋ยหมัก อัตรา 1-2 ตันต่อไร่ และใส่ปุ๋ยสูตร 15-15-15 หรือ 12-24-12 อัตราประมาณ 20-30 กิโลกรัมต่อไร่
2. หลังย้ายปลูกประมาณ 7 วัน ใส่ปุ๋ยที่มีไนโตรเจน เช่น ยูเรีย หรือ แอมโมเนียซัลเฟต ในอัตราประมาณ 20 กิโลกรัมต่อไร่
3. ระยะแตงกวาออกดอก ซึ่งจะใช้ระยะเวลาประมาณ 25 วัน หลังจากย้ายกล้า ใส่ปุ๋ยสูตร 15-15-15 หรือ 12-24-12 อัตรา ประมาณ 20-30 กิโลกรัมต่อไร่

วันพฤหัสบดีที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2553

วันพฤหัสบดีที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2553

การปลูกบร็อคโคลี่




บร๊อคโคลี(Broccoli)บร๊อคโคลี(Broccoli) หรือ กะหล่ำดอกอิตาเลี่ยน มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Brassica olercea L.var.italica Pleneck อยู่ในตระกูล Cruciferae เป็นพืชผักเมืองหนาวที่มีถิ่นกำเนิดอยู่ทางตอนใต้ของยุโรปหรือแถวๆ ประเทศอิตาลี มีการนำเข้ามาปลูกในประเทศไทยเมื่อประมาณ 10 กว่าปีที่ผ่านมา โดยในระยะแรกเริ่มมีการปลูกในเขตภาคเหนือ เนื่องจากเป็นพืชที่ต้องการสภาพอากาศหนาวเย็นในการออกดอก แต่ในปัจจุบันได้มีการปรับปรุงพันธุ์ให้สามารถทนต่อสภาพอากาศร้อนได้มากขึ้น จึงสามารถกระจายพื้นที่ปลูกไปสู่ภูมิภาคอื่นได้เช่นกัน แต่การผลิตบร๊อคโคลีนอกฤดูนั้นยังคงผลิตๆได้ในเขตภาคเหนือเท่านั้น



ประโยชน์ : นิยมทานในดอก ส่วนลำต้นและใบนิยมทานรองลงมา แต่ในด้านคุณค่าทางอาหารโยเฉพาะวิตามินซี กลับมีอยู่เป็นจำนวนมากในส่วนของลำต้น ดังนั้นหลังจากเก็บบร๊อคโคลี ไว้นานๆ แล้วพบว่าดอกเริ่มมีสีเหลืองไม่น่าทาน ยังไม่ควรทิ้งเพราะยังสามารถบริโภคในส่วนของลำต้นซึ่งมีคุณค่าทางอาหารสูงได้อีก ทั้งในส่วนของลำต้นนี้ยังมีรสชาติหวานกรอบ จึงกลายเป็นที่นิยมรับประทานของคนไทยมากขึ้นในปัจจุบัน ที่จะทานในส่วนของดอกควบคู่กับลำต้นไปด้วย ลักษณะโดยทั่วไป : บร๊อคโคลีเป็นผักที่ปลูกเพื่อบริโภคส่วนของดอกอ่อนและก้านดอกที่ปลอกเปลือกแล้ว ส่วนของดอกมีสีเขียว ประกอบด้วยดอกสีเขียวขนาดเล็กจำนวนมากที่รวมตัวกันแน่น ดอกแรกหรือดอกประธานอาจมีขนาดใหญ่ มีใบกว้างสีเขียวเข้มออกเทา ริมขอบใบเป็นหยัก ทรงพุ่มใหญ่เก้งก้าง ลำต้นใหญ่และอวบ ดอกอยู่รวมกันเป็นกลุ่มช่อหนาแน่นดูเป็นฝอยๆ สีเขียวเข้ม ดอกมีขนาดใหญ่ เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 16 เซนติเมตร มีคุณค่าทางอาหารสูงสภาพดินฟ้าอากาศที่เหมาะสม : บร๊อคโคลีมีความต้องการสภาพดินฟ้าอากาศที่ใกล้เคียงกับกะหล่ำดอก แต่บร๊อคโคลีจะถูกกระทบกระเทือนจากสภาพดินฟ้าอากาศที่ไม่เหมาะสมได้ง่ายกว่ากะหล่ำดอก บร๊อคโคลีสามารถขึ้นได้ในดินแทบทุกชนิด แต่จะชอบดินร่วนที่มีความอุดมสมบูรณ์สูง มีค่า pH ประมาณ 6.0-6.5 มีความชุ่มชื้นในดินสูง ชอบแสงแดดตลอดวัน ช่วงอุณหภูมิที่เหมาะสม คือ 18-27 องศาเซลเซียส มีอากาศค่อนข้างเย็น ช่วงเวลาที่เหมาะสมต่อการเพาะปลูก คือ ระหว่างเดือน พฤศจิกายน-ธันวาคม พันธุ์ : มีอยู่หลายพันธุ์ด้วยกัน แต่พันธุ์ที่สามารถเพาะปลูกในประเทศไทยได้ดี คือ 1. พันธุ์ เด ซิกโก ( De Cicco) มีอายุประมาณ 65 วัน 2. พันธุ์ ซากาต้าหรือพันธุ์ Green Duke มีอายุการเก็บเกี่ยวประมาณ 60 วัน3. พันธุ์ กรีน โคเมท ( Green Comet) เป็นพันธ์จากญี่ปุ่น เก็บเกี่ยวได้เร็ว มีอายุประมาณ 40 วัน ให้ผลผลิตสูง มีลักษณะตรงความต้องการของตลาด 4. พันธุ์ของเจียไต๋ ให้ผลผลิตสูง ** พันธุ์บร๊อคโคลีที่ดีและเหมาะสมต่อการเพาะปลูกในสภาพภูมิอากาศของประเทศไทย ควรเป็นพันธุ์เบาและมีอายุการเก็บเกี่ยวสั้น ดอกอ่อนมีสีเขียวเข้มและรวมตัวกันแน่น ขนาดของดอกสม่ำเสมอ ขนาดดอกประธานควรมีความใหญ่ประมาณ 10-15 เซนติเมตร เจริญเติบโตเร็วและทนทานต่อโรค ** สำหรับพันธุ์บร๊อคโคลีที่มีจำหน่ายในบ้านเรา ได้แก่ พันธุ์ Di cico] ryoT6N Morakot ,พันธุ์ Negro , พันธุ์ Toro พันธุ์ Top green ,พันธุตราช้างเบอร์ 12 ,พันธุ์ตราช้างเบอร์ 30,พันธุ์โคย่า,พันธุ์ไต้หวัน เป็นต้น
การปลูกและการดูแลรักษา : เนื่องจากบร๊อคโคลีเป็นพืชผักที่มีทรงพุ่มกว้างกว่าผักจำพวกกินใบชนิดอื่น จึงต้องการระยะปลูกระหว่างต้นพอสมควร และเมล็ดพันธุ์มีราคาแพง วิธีการเพาะเมล็ดและย้ายกล้าลงปลูกจึงเป็นวิธีที่เหมาะสมกว่า ฉะนั้นการเตรียมดินจึงควรมีการเตรียมดินในส่วนของแปลงเพาะกล้าและแปลงเพาะปลูก เพื่อให้มีความเหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของบร๊อคโคลี ดังนี้ การเตรียมดินแปลงเพาะกล้า ให้ขุดพลิกดินลึก ประมาณ 15 เซนติเมตร ตากดินทิ้งไว้5-7วัน ทำการย่อยพรวนดินให้ให้แตกเป็นก้อนเล็กๆ ผสมปุ๋ยหมัก ปุ๋ยคอก หรือใส่ปุ๋ยขี้เป็ดผสมกากถั่ว ในอัตรา 300 กก./ไร่ สำหรับพื้นที่การปลูก 1 ไร่ ควรเตรียมแปลงเพาะกล้าขนาดประมาณ 5-10 ตารางเมตรการเตรียมดินแปลงปลูก ขุดพลิกดินลึกประมาณ 15-20 เซนติเมตร ตากดินทิ้งไว้ 7-10 วัน แล้วย่อยพรวนดินใส่ปุ๋ยขี้เป็ดปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอกในอัตรา 300 กก./ไร่ และ ปูนขาวเพื่อปรับสภาพความเป็นกรดเป็นด่างของดินในอัตรา 380-1,000 กก./ไร่ คลุกเคล้าให้เข้ากันกับดินในแปลงปลูก การเพาะกล้า การเพาะกล้าบร๊อคโคลีเพื่อทำการเพาะปลูกบนพื้นที่ 1 ไร่ จะใช้เมล็ดพันธุ์ 100 – 150 กรัม หว่านลงในแปลงปลูก ขนาด 5 - 10 ตารางเมตร หากต้องการเพิ่มหรือลดขนาดพื้นที่ปลูกลงจาก 1 ไร่ สามารถเทียบลดสัดส่วนอัตราการใช้เมล็ดพันธุ์ในแปลงเพาะกล้าได้จากอัตราส่วนดังกล่าว หรือหากในบริเว๊ณที่ทำการเพาะปลูกมีสภาพแวดล้อมที่ไม่อำนวย เช่น ความชื้นในดินไม่เหมาะสม มีโรคและแมลงรบกวนมาก ก็ควรใช้เมล็ดพันธุ์เพาะกล้าให้มากขึ้นโดยใช้ปริมาณเมล็ดพันธุ์หนัก 100 กรัมหลังจากเพาะกล้าแล้วประมาณว่าจะได้ต้นกล้าที่แข็งแรงประมาณ 17,800 ต้น(ประมาณจากเมล็ดหนัก 100 กรัมจะมีจำนวนเมล็ดประมาณ 31,770 เมล็ด) ** อุณหภูมิในดินที่เหมาะสมสำหรับการงอกของเมล็ดพันธุ์บร๊อคโคลี อยู่ในระหว่างช่วง 7.2 - 29.4 องศาเซลเซียส แต่อุณหภูมิที่เหมาะสมที่สุดคือ 26.6 องศาเซลเซียส

วิธีการเพาะปลูก : หลังจากต้นกล้ามีอายุได้ประมาณ 25-30 วัน จึงถอนย้ายกล้าลงแปลงปลูก โดยใช้วิธีการเดียวกันกับการย้ายกล้าพืชผักชนิดอื่นๆ คือ ทำการถอนกล้าไว้ก่อนในช่วงเช้าที่ยังไม่มีแดดจัด และก่อนถอน ย้ายกล้าควรรดน้ำลงแปลงกล้าให้ชุ่มชื้นก่อน เพื่อให้ง่ายต่อการถอนแยกและไม่ทำให้กล้าเหี่ยวเฉาเร็วเกินไป ควรระมัดระวังขณะถอนกล้าอย่าให้กล้าได้รับความกระทบกระเทือนหรือช้ำ เพราะจะส่งผลต่อการเจริญเติบโตของพืชและกล้าอาจตายได้ ส่วนวิธีการถอนกล้า ให้ใช้มือดึงตรงส่วนของใบขึ้นมาโดยตรง แต่ไม่ควรจับที่ลำต้นเพาะจะทำให้ต้นได้รับความกระทบกระเทือนและช้ำได้ง่าย จากนั้นนำต้นกล้าที่ถอนแยกออกมาแล้วใส่ในเข่งเอาผ้าชุบน้ำคลุมเก็บไว้ในที่ร่ม เพื่อรอปลูกลงแปลงในช่วงเย็นช่วงแดดอ่อนๆ ประมาณ 3-4 โมงเย็น จึงนำมาปลูกลงในแปลง โดยก่อนปลูกให้รดน้ำแปลงให้ชุ่มแล้วใช้นิ้วหรอไม้จิ้มรูปักต้นกล้าลงดิน แล้วกดดินโคนต้นพอประมาณแต่ไม่ต้องแน่น ใช้ระยะปลูกระหว่างต้น 30-60 เซนติเมตร และ ระยะระหว่างแถว 50-100 เซนติเมตรสำหรับหลักการเลือกระยะปลูกให้มีความห่างเท่าไหร่นั้น ควรพิจารณาจากสภาพภูมิอากาศในพื้นที่ประกอบด้วย ถ้าอากาศในพื้นที่ค่อนข้างร้อนให้ปลูกถี่ ถ้าอากาศเย็นให้ปลูกห่าง หรือ ตามแต่สภาพความสมบูรณ์ของดิน โดยใช้หลักดินเลวปลูกถี่ ดินดีปลูกห่าง เพราะผลของการปลูกห่างในสภาพดินดีจะทำให้บร๊อคโคลีมีลำต้นโตได้เต็มที่ไม่เบียดเสียดกันแน่นมากจนเกินไป หลังจากปลูกแล้วควรคลุมแปลงด้วยฟางข้าวแห้ง หรือหญ้าแห้งบางๆ เพื่อช่วยให้ต้นกล้าตั้งตัวได้เร็วยิ่งขึ้น และหลังจากเปื่อยยุ่ย ฟางข้าวเหล่านี้จะย่อยสลายกลายเป็นอินทรียวัตถุให้กับดินได้ดีอีกด้วย การให้น้ำ : แบ่งเป็น 2 ช่วง คือ ช่วงแรก คือ หลังจากย้ายปลูกลงแปลงใหม่ๆ พืชจะไม่ต้องการน้ำมากนัก แต่มีความต้องการน้ำอย่างสม่ำเสมอ ในปริมาณที่พอดี ไม่ควรให้น้ำจนดินแฉะ ระยะนี้ให้รดน้ำวันละ 2 ครั้งเช้า-เย็น โดยการใช้เครื่องพ่นฝอยหรือใช้บัวรดน้ำเป็นฝอยให้ทั่วแปลง ช่วงที่ 2 คือ เมื่อลำต้นเจริญเติบโตเป็นต้นใหญ่ จนถึงระยะเกิดดอก ผักต้องการน้ำมากขึ้นเพราะเมื่อผักโตขึ้นจะเกิดขบวนการที่ทำให้ต้องมีการสูญเสียน้ำมากขึ้น และในขณะที่พืชผักเจริญเติบโตจนถึงระยะที่เริ่มมีการพัฒนาการเจริญเติบโตของดอก น้ำจะกลายเป็นปัจจัยหลักที่จำเป็นมากที่จะมีส่วนช่วยให้ผักเติบโตสมบูรณ์ มีดอกใหญ่ ฉะนั้นจึงไม่ควรให้บร๊อคโคลีขาดน้ำในช่วงนี้ และควรให้น้ำผักอย่างสม่ำเสมอในช่วงนี้ด้วย การให้น้ำในระยะนี้จะให้ 2 เวลา คือ เช้า-เย็นในปริมาณที่มากขึ้นกว่าการให้ในช่วงแรก

การให้ปุ๋ย : ปุ๋ยสูตรที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตและพัฒนาการของบร๊อคโคลี คือ สูตร 10-10-20 หรือ สูตร 13-13-21 การใส่ควรแบ่งให้ 2 ครั้ง ครั้งละประมาณ 25-27 กก./ไร่ โดยใส่ครั้งแรกเป็นปุ๋ยรองพื้นก่อนปลูกหรือใช้กลบฝังข้างร่องแถวปลูก ครั้งที่สองใส่หลังจากปลูกได้ประมาณ 20 วัน โดยใส่แบบโรยข้างแถวแล้วพรวนดินกลบ สำหรับปลูกแบบเป็นไร่ ส่วนแปลงปลูกแบบเป็นร่องมีคูน้ำล้อมรอบแบบภาคกลาง การใส่ปุ๋ยด้วยวิธีดังกล่าว อาจจะทำไม่สะดวกการหว่านปุ๋ยจึงเป็นเป็นวิธีการที่เหมาะสมกว่า แม้จะเป็นวิธีการที่ทำให้สิ้นเปลืองปุ๋ยมากก็ตามที แต่เพื่อความประหยัดและได้ผลดีจริงการใส่ปุ๋ย ข้างแถวปลูกแล้วพรวนดินกลบจึงเป็นวิธีที่ดีที่สุดอาจพิจารณาให้ปุ๋ยยูเรียหรือแอมโมเนียมไนเตรทเป็นปุ๋ยเสริม เมื่อเห็นว่าพืชมีการเจริญเติบโตช้าลง โดยให้ในอัตรา 20 กก.ไร่ โดยวิธีการใส่ข้างแถวแล้วพรวนดินกลบ แบ่งให้ 2 ครั้ง ครั้งแรกเมื่อพืชมีอายุได้ประมาณ 7 วัน ครั้งที่ 2 ให้เมื่อพืชมีอายุได้ประมาณ 30 วัน ในการปลูกบร๊อคโคลี ควรมีการให้ธาตุโบรอนและโมลิบดีนัมเสริมด้วย เพื่อป้องกันการขาดธาตุดังกล่าว แต่ในดินที่มีการปรับปรุงด้วยปูนขาวก่อนปลูกมักจะไม่พบว่าบร๊อคโคลีมีอาการขาดธาตุนี้

โรคและแมลงศัตรูที่สำคัญของบร๊อคโคลี : ได้แก่โรคเน่าเละ,โรคอึนหรือโรคไส้ดำ หนอนคืบกะหล่ำ หนอนใยผัก หนอนกะหล่ำปลี หนอนกระทู้หอมเป็นต้นการเก็บเกี่ยว : อายุของบร๊อคโคลีนับตั้งแต่วันย้ายปลูกจนถึงวันที่สามารถเก็บเกี่ยวได้ จะประมาณ 70 – 90 วัน โดยเลือกตัดดอกที่มีกลุ่มดอกเกาะตัวกันแน่น โตขนาดประมาณ 10-16 เซนติเมตร และต้องรีบตัดดอกก่อนที่ดอกจะบานกลายเป็นสีเหลือง เพราะจะทำให้ขายไม่ได้ ควรใช้มีดมีคมตัดให้ชิดโคนต้น แล้วขนออกมาตัดข้างนอกแปลงปลูก การตัดแต่งควรตัดแต่งให้เหลือดอกและต้นยาวประมาณ 16-20 เซนติเมตร ตัดใบออกให้เหลือติดดอกประมาณ 2 – 3 ใบ เพื่อเอาไว้พันรอบดอก เป็นการป้องกันการกระทบกระเทือนระหว่างการขนส่ง สำหรับผลผลิตโดยเฉลี่ย ช่วงฤดูร้อนจะได้ผลผลิตประมาณ 1,300-1,500 กก.ไร่ ในช่วงฤดูหนาวจะได้ผลผลิตประมาณ 2,000-3,000 กก./ไร่

การดูแลหลังการเก็บเกี่ยว : ปัญหาดอกบร๊อคโคลี หลังกการเก็บเกี่ยวก็คือ การเปลี่ยนแปลงสีของดอกที่จะเป็นไปอย่างรวดเร็วมาก โดยเฉพาะการเก็บเกี่ยวดอกที่ดอกย่อยใกล้บานแล้ว จะทำให้กลายเป็นสีเหลืองและขายไม่ได้ราคา บางครั้งการเปลี่ยนแปลงสีของดอกนี้อาจเปลี่ยนไปเพียงชั่วข้ามคืน ซึ่งมีสาเหตุมาจากการเก็บไว้ในที่ที่มีอุณหภูมิสูงและสภาพอากาศร้อนเกินไป ฉะนั้นควรระวังเรื่องอุณหภูมิที่จะใช้ในการเก็บรักษาผลผลิตให้ดี เพื่อป้องกันความเสียหายดังกล่าว

วันพฤหัสบดีที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2553